องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในยุคดิจิทัล พื้นที่จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย สุนทรนนท์ -

คำสำคัญ:

Factors, Indicators, Strategic Proposals, Village Health Volunteer, Competency Development, The Digital Era

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบการศึกษาคือ การวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในยุคดิจิทัล พื้นที่จังหวัดตรัง 2. เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในยุคดิจิทัล พื้นที่จังหวัดตรัง มีกลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดตรัง โดยตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์หรือตัวแปรที่สังเกตได้ จำนวน 32 ตัวแปร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 9 เท่า ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 288 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ และการจัดทำร่างข้อเสนอเชิงกลยุทธ์โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติแล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาจนได้ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในยุคดิจิทัล พื้นที่จังหวัดตรัง ฉบับสมบูรณ์

ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีจำนวนทั้งสิ้น
5 องค์ประกอบ 23 ตัวบ่งชี้ ซึ่งองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง 1.056 ถึง 14.171 ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ความรอบรู้ทางดิจิทัล จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ตั้งแต่ 0.507 ถึง 0.686 องค์ประกอบที่ 2 ความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ตั้งแต่ 0.553 ถึง 0.647 องค์ประกอบที่ 3 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ตั้งแต่ 0.501 ถึง 0.741 องค์ประกอบที่ 4 ความเป็นนักจัดการสุขภาพ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ตั้งแต่ 0.617 ถึง 0.787 และองค์ประกอบที่ 5 การบูรณาการ จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ตั้งแต่ 0.657 ถึง 0.695 ตามลำดับ ด้านข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ และ10 ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข.

กาญจนา จินดานิล, สิริพร พงศ์หิรัญ สกุล, & พัชรี ฉลาดธัญกิจ. (2565). การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(3), 187-199.

จุฑาภรณ์ สว่างเมฆ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบจังหวัดกระบี่. วารสารอนามัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(3), 121-130.

ชัดสกร พิกุลทอง, & สุวัฒน์จุลสุวรรณ. (2565). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 178-192.

ชาญชัย จิวจินดา. (2562). รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6(2), 1-9.

ทศพร มะหะหมัด, & สุวิมล พันธ์โต. (2563). การใช้ความฉลาดทางอารมณ์ในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์กร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 267-280.

ทศพล อัครพงษ์ไพบูลย์, เพ็ญศรี ฉิรินัง, อรุณ รักธรรม, & สมพร เฟื่องจันทร์. (2563). การบูรณาการการ จัดการภัยพิบัติในยุค 4.0. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3), 14-23.

ธนวัฒน์ เจริญษา, & สุภาณี เส็งศรี. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 21-29.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์, นิตยา จันทบุตร, & ใจเพชร นิลบารันต์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 8(1), 1-10.

นาฏยา นุชนารถ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 768-779.

นิตยาภรณ์ สุระสาย, นิศานาจ โสภาพล, & มณฑิชา รักศิลป์. (2563). รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการ ดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 8(6), 2392-2407.

นุชจรี ลอยหา, พักตร์วิภา โพธิ์ศรี, & อุทิศ บำรุงชีพ. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 410-420.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปองจิต สร้อยแสง, & ชาญชัย จิวจินดา. (2565). บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงสร้างสรรค์ ในการจัดการสุขภาพชุมชนเข้มแข็งบ้านยายม่อมจังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(1), 32-46.

พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช). (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่. วารสารการบริหารการศึกษา มร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2(2), 42-52.

พระอธิการสุเนตร กนฺตวีโร (สุวรรณเพ็ง), (2564). พุทธวิธีพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 372-383.

เพ็ญศรี โตเทศ. (2562). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม). 4.0 ภาคเหนือปี 2561. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(1), 34-44.

ไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2562). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์กับผู้บริหารยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 12-26.

มนัสพงษ์ มาลา. (2565). ผลของโปรแกรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ของอสม. หมอประจำบ้าน อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ.-วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 8(1), 113-124.

มัธนา กามะ. (2563). คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21. วารสารบริหารการศึกษา

บัวบัณฑิต, 20(1), 92-106.

วงเดือน พระนคร. (2564). การสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(2), 253-268.

วลัยพร ศรีรัตน์, สุขุม เฉลยทรัพย์, & ชนะศึก นิชานนท์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 408-422.

วัชรี วัฒนาสุทธิวงศ์, รัฐพล เย็นใจมา, & พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์. (2565). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, R267-R278.

วิลัยพร นุชสุธรรม, พัชราวรรรณ แก้วกันทะ, ลาวัลย์ สมบูรณ์, ชมภู่ บุญไทย, & สุกัญญา เมืองมาคำ. (2561). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 45(1), 110-121.

วิลัยพร นุชสุธรรม, อำพัน เรียงเสนาะ, & สาวิตรี จีระยา. (2560). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร,

(พิเศษ 2), 111-118.

ศศิวิมล มาลาพงษ์, & สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2564). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. ค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/ miniconference/article/view/4139/2738

ศิราณี ศรีหาภาค, พิทยา ศรีเมือง, ชิตสุภางค์ทิพย์ เที่ยงแท้, สถาพร แถวจันทึก, แสงดาว จันทร์ดา, & วิภาพร สิทธิศาสตร์. (2563). การพัฒนาผู้นำการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอสำหรับ อาจารย์ วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(35), 330-347.

ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา, คมสันต์ ธีระพืช, & วิชุดา จันทร์เวโรจน์. (2564). บทบาทของผู้นำยุคใหม่ที่มีผลต่อการจัดการองค์การบนฐานวิถีชีวิตใหม่. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 257-266.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2542. องค์การและการจัดการ ฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิพงษ์ ภาคทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้นำอสม. ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพแบบมีส่วนร่วมจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), p492-501.

อดิศร คันธรส. (2565). การพัฒนาความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(4), 39-54.

อติพร เกิดเรือง. (2564). การส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลของสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 8(2), 1-12.

อมรพงศ์ สุขเสน. (2565). 4 Soft Skills สู่ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(2), 165-173.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20