ประสิทธิผลของการใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือ (อ 31) ในการคัดกรองการตรวจวิเคราะห์ไนไตรท์ในน้ำบริโภค

ผู้แต่ง

  • ยุพิน โจ้แปง กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุขกรมอนามัย, กรมอนามัย
  • จิรพรรณ โรมา
  • พิสิฐ วีระพันธ์
  • วาสนา คงสุข

คำสำคัญ:

ไนไตรท์ ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือ (อ 31) ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การตรวจหาปริมาณไนไตรท์ (NO2-) ในน้ำบริโภคมีความสำคัญ เพราะไนไตรท์ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นกรมอนามัยจึงกำหนดให้เพิ่มการตรวจวิเคราะห์ไนไตรท์ในเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้กรมอนามัย ฉบับปี พ.ศ. 2563 และแนะนำให้ใช้คลอรีนในกระบวนการผลิตน้ำบริโภค รวมทั้งใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือ (อ 31) ในการคัดกรองคุณภาพน้ำบริโภค ส่งผลให้ชุดทดสอบ อ 31 มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคลอรีนในน้ำบริโภคทำให้ปริมาณไนไตรท์ลดลง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดทดสอบ อ 31 ในการคัดกรองคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำบริโภคโดยผู้ใช้ชุดทดสอบเทียบกับวิธีมาตรฐาน และศึกษาประสิทธิผลของชุดทดสอบ อ 31 ในการคัดกรองน้ำบริโภคเบื้องต้นก่อนตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไนไตรท์ โดยเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลจากการนำตัวอย่างน้ำบริโภคจำนวน 360 ตัวอย่าง ที่ตรวจคัดกรองคลอรีนอิสระคงเหลือ ด้วยชุดทดสอบ อ 31 โดยผู้ใช้ชุดทดสอบ และนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือและปริมาณไนไตรท์ด้วยวิธีมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายลักษณะของตัวอย่างน้ำบริโภค สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำบริโภคตรวจพบคลอรีนอิสระคงเหลือ จำนวน 104 ตัวอย่าง (28.9%) ที่ระดับความเข้มข้น 0-13.5 mg/L และตรวจพบไนไตรท์ จำนวน 31 ตัวอย่าง (8.6%) ที่ระดับความเข้มข้น 0-0.4 mg/L การคัดกรองคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำบริโภคด้วยชุดทดสอบ อ 31 โดยผู้ใช้ชุดทดสอบ เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานมีค่าความไว ความจำเพาะ ค่าการทำนายผลบวก ค่าการทำนายผลลบ และความถูกต้อง เท่ากับ 100% 96.4% 92.0% 100% และ 97.5% ตามลำดับ และตัวอย่างน้ำบริโภคจำนวน 110 ตัวอย่าง ที่ทดสอบด้วยชุดทดสอบ อ 31 ให้ผลบวกที่ความเข้มข้น >0.2 mg/L เมื่อเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐานตรวจไม่พบปริมาณไนไตรท์ ซึ่งหากนำชุดทดสอบ อ 31 มาใช้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองน้ำบริโภคเบื้องต้นก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ไนไตรท์จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ไนไตรท์ 28.1%  จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การคัดกรองคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำบริโภคด้วยชุดทดสอบ อ 31  โดยผู้ใช้ชุดทดสอบมีความถูกต้องสูงและมีประสิทธิผลในการนำมาใช้คัดกรองตัวอย่างน้ำบริโภคก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ไนไตรท์ ซึ่งประชาชนสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดการประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำต่อไป

 

References

กรมอนามัย. (2557). คู่มือปฏิบัติตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมอนามัย. (2564).ประกาศกรมอนามัย เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก http://laws.anamai.moph.go.th/th/practices/download/?did=201133&id=62575&reload=

กลุ่มพัฒนาระบบจัดการคุณภาพน้ำบริโภค สำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. (2564). รายงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในครัวเรือน ประจำปี 2563. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มวิจัยและพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภค สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. (2556). คู่มือพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคในโรงพยาบาล. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2559-2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จรียา ยิ้มรัตนบวร, & สุดจิต ครุจิต. (2560). รายงานการวิจัยการประเมินคุณภาพน้ำในระบบประปาในเขตเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/7446/1/Fulltext.pdf

ชัญญานุช เวียงแก้ว, & พรเพชร ศักดิ์ศิริชัยศิลป์. (2565). การศึกษาการจัดการคุณภาพน้ำบริโภคของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, 13(2), 29-36.

ธนพงศ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, & มาลี สุปันดี. (2561). คุณภาพและความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 356-365.

นราภรณ์ เกษมสานต์, ศมณพร สุทธิบาก, & นัทกาญจน์ ประเสริฐสังข์. (2559). การประเมินคุณภาพน้ำระบบประปาหมู่บ้านตำบลเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร. ใน การจัดประชุมทางวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12” หัวข้อ “ก้าวสู่พัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนโดยบูรณาการงานวิจัยและงานวิจัยประยุกต์” (Toward Sustainable Community Development by Integrating Basic and Applied Researches) ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2559 ณ อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (หน้า 432-440). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปราโมทย์ เชี่ยวชาญ. (2551). ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/ 1_2551/Enronment.htm

พรเพชร ศักดิ์ศิริชัยศิลป์, วิโรจน์ วัชระเกียรติศักดิ์, รัชชผดุง ดำรงพิงคสกุล, อังคณา คงกัน, วราภรณ์ ถาวรวงษ์, & ปาริชาติ สร้อยสูงเนิน. (2564). การพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคของประเทศไทย. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย, 12(1), 6-19.

ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ชุดตรวจสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำดื่ม (อ 31). ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2565, จาก http://rldc.anamai.moph.go.th.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2561). Sustainable development goals. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565, จาก https://sdgs.nesdc.go.th

Abasse, K. S., Essien, E. E., Abbas, M., Yu, X., Xie, W., Sun, J., et al. (2022). Association between dietary nitrate, nitrite intake, and site-specific cancer risk: a systematic review and meta-analysis. Nutrients, (14), 666.

Arnold, B. F., & Colford, J. M., Jr (2007). Treating water with chlorine at point-of-use to improve water quality and reduce child diarrhea in developing countries: A systematic review and meta-analysis. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 76(2), 354–364.

Bernhard, A. (2010). The nitrogen cycle: Processes, players, and human impact. Nature Education Knowledge, 3(10), 25.

Buswell, A. M., Boruff, C. S., & Enslow, L.H. (1925). The sensitivity of the ortho-tolidine and starch-iodide tests for free chlorine [with discussion]. Journal (American Water Works Association), 14(5), 384-405.

Centers for Disease Control. (2005). Safe Water Systems for the Developing World: A Handbook for Implementing Household-based Water Treatment and Safe Storage Projects. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention.

Chemistry Stack Exchange. (2020). Mechanism of DPD (N,N-diethyl-p-phenylenediamine) reaction with free chlorine. Retrieved November 12, 2022, from https://chemistry.stackexchange.com/questions/116870/mechanism-of-dpd-n-n-diethyl-p-phenylenediamine-reaction-with-free-chlorine

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences. New Jersey: John Wiley & Sons.

Mintz, E., Bartram, J., Lochery, P., & Wegelin, M. (2001). Not just a drop in the bucket: Expanding access to point-of-use water treatment systems. American Journal of Public Health, 91, 1565-1570.

Morris, G., & William, B. (1944). Outbreak of sodium nitrite poisoning. American Journal of Public Health, (35), 1217-1220.

Olivier, V. P., Snead, M. C., Kruse’, C. W., & Kawata, K. (1986). Stability and effectiveness of chlorine disinfectants in water distribution systems. Environmental Health Perspectives, 69, 15-29.

Reiff, F. M., Roses, M., Venczel, L., Quick, R., & Witt, V.M. (1996). Low-cost safe water for the world: A practical interim solution. Journal of Public Health Policy, 17, 389-408.

Safe Drinking Water Committee, Board on toxicology and environmental health hazards, Assembly of Life Sciences. (1980). Drinking water and health. Washington, DC: National Academy press.

The American Public Health Association [APHA], the American Water Works Association [AWWA], and the Water Environment Federation [WEF]. (2017). Standard methods for the examination of water and wastewater (23rd ed.). Washington, DC: APHA.

Thompson, T., Sobsey, M., & Bartram, J. (2003). Providing clean water, keeping water clean: An integrated approach. International Journal of Environmental Health Research, 13(Suppl 1), S89-S94.

World Health Organization [WHO]. (2017). Guidelines for drinking-water quality (4th ed.). Geneva: WHO.

Yang, H., & Cheng, H. (2007). Controlling nitrite level in drinking water by chlorination and chloramination. Separation and Purification Technology, 56, 392-396.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03