การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรและการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์กร, ข้อเสนอเชิงนโนบาย, กระแสการเปลี่ยนแปลง, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรและการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง 2. เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง มีรูปแบบการศึกษาคือ การวิจัยแบบผสมผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะตามวัตถุประสงค์ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง จำนวน 214 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 138 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ระดมความคิดเห็น ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.5-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 และ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์นำเสนอโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลคือ เพศชาย อายุ รายได้ ระยะเวลาการทำงาน และตำแหน่งในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคุณลักษณะงานที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 4 ด้านคือ ด้านความหลากหลายของงาน ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน ด้านความท้าทายของงาน และด้านความมีโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดตรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จ ครอบคลุม 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การสร้างบรรยากาศที่ดีมีความสุขในการปฏิบัติงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง 2) การส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่อันดีต่อกันภายในองค์กร 3) การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อความสุขและความผูกพันธ์ต่อองค์กร และ
4) การปรับปรุงพัฒนาระบบกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกรอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรต่อไป
References
กมลาสน์ รุ่งเรือง. (2564). แนวทางการสร้างบรรยากาศการทำงานในองค์กรตามหลักสัปปายธรรม. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 5(2), 108-122.
กิติยา วงษ์ภักดี, เมทินี รัษฎารักษ์, & บุบผา ฐานุตตมานนท์. (2561). บรรยากาศการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากร. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(3), 23-73.
เกศี จันทราประภาวัฒน. (2565). การสร้างและพัฒนาบรรยากาศการทำงานในองค์กรสมัยใหม่. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 6(1), 47-60.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, & สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2563). แรงจูงใจในการทำงานทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 424-436.
ชวาลินี ชนะสงคราม, วีรพงษ์ เที่ยงสันเที่ยะ, อภิสิทธิ์ สุขอุดม, & กนกภรณ์ ครุฑภาพันธุ์. (2565). ยุคแห่งการปรับตัวของการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 3(1), 81-89.
ชัยรัตน์ ชามพูนทั, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ, & ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 195-208.
ณรงค์ ใจเที่ยง, วิกรม บุญนุ่น, เลหล้า ตรีเอกานุกูล, & ปฏิพัทธ์ วงค์เรื่อง. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขในระบบสุขภาพที่ยั่งยืน. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(2), 313-327.
ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล, สามารถ อัยกร, & ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความ สุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 253-272.
ดรุณี ชมศรี, พรชัย จูลเมตต์, & นรินทร์ กระจายกลาง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อ องค์การของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 258-280.
ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑคุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 41-50.
ตระกูล จิตวัฒนากร. (2564). การสร้างความสุขในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี. วารสารปัญญา, 28(3), 84-94.
ทิพวัลย์ รามรง, & สานิต ฤทธิ์มนตรี. (2561). แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 185-208.
เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 42-51.
ธัญพิมล วสยางกูร, & จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลิก ผันด้วยการสร้างองค์กรแห่งความคล่องตัว. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ส พบ ท.), 4(4), 15-28.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
ปาณิศา เชาวน์วิจิตร, & นิตยา สินเธาว์. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานเทศบาลนคร นครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 131-142.
พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโลและวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ องค์การของพนักงานบริษัทเอสเอสเคโลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.
ภัทราวดี ปรีจำรัส. (2564). ผลกระทบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โมรยา วิเศษศรี, สโรชินี ศิริวัฒนา, & วรพล เพ็ชรภูผา. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 52-65.
วรักชนก เชื่อชา, เกวลิน ศีลพิพัฒน์และณัฐวีณ์ บุนนาค. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันใน องค์การของบุคลากรสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 16-23.
วราภรณ์ ผ่องอ่วย, ปาณิสรา นาเลิศ, & โชติ บดีรัฐ. (2565). ช่องว่างและอุปสรรคในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4), 205-220.
สุธิสา อินทนุพัฒน์, ประเสริฐ เก็มประโคน, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์ & ศุภาพร โนนชนะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด บุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4(2), 15-25.
สุฬดี กิตติวรเวช, & ณิชา ว่องไว. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 161-179.
หฤทัย อาจปรุ, สินีนาฏ ลิ้มนิยมธรรม, & ปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช, (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 7(1), 79-96.
อัจจิมา เสนานิวาส, & สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(1), 29-40.
Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Hrebiniak, L. G., & Alutto, J. A. (1972) Personal and role-related factors in the development of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 555-573.
Kongkaew, S., & Rojanatrakul, T. (2021). Factors an affecting the commitment of personnel under the Royai Institute, Phitsanulok Province. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 209-223.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970) Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.