ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของครัวเรือนในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พลภัทร เครือคำ -
  • รชานนท์ ง่วนใจรัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย 30000

คำสำคัญ:

Health literacy, Household residents, Dengue fever

บทคัดย่อ

ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนยังคงมีข้อจำกัด การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมอาจขึ้นอยู่กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคคลในครัวเรือน การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูกสุ่มมาแบบหลายขั้นตอน จำนวน 361 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ และตัวแปรตามด้านพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก

ผลการศึกษา พบว่า ตัวแทนครัวเรือนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกภาพรวมในระดับมากและพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับเหมาะสม มากถึงร้อยละ 89.20 และ 89.47 ตามลำดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=7.91; 95%CI: 3.58, 17.48) ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=5.06; 95%CI: 2.03, 12.56) ด้านทักษะการสื่อสารในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=6.01; 95%CI: 2.13, 16.96) ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=13.05; 95%CI: 4.72, 36.08) ด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=5.60; 95%CI: 1.93, 16.27) และด้านการจัดการตนเองในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (AOR=14.13; 95%CI: 4.01, 49.82) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับครัวเรือน

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ทรงเกียรติ ยุระศรี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมาลาเลีย ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 29-36.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, วิทยา ศรแก้ว, & วัลภา ดิษสระ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนวัยทำงานอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(4), 72-86.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, & ปัทมา รักเกื้อ. (2561). ที่ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 31-39.

ภูนรินทร์ สีกุต, ศุภรดา โมขุนทด, & ธาตรี เจริญชีวะกุน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2), 74-84.

โรงพยาบาลลำปลายมาศ. (2562). จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรวมอำเภอลำปลายมาศ. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลลำปลายมาศ. (เอกสารอัดสำเนา).

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

วีระ กองสนั่น, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 35-44.

สำนักวิทยาระบาด กรมควบคุมโรค. (2565). National Disease Surveillance (Report 506). ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=situation&ds=26

สิวลี รัตนปัญญา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 87-96.

อดุลย์ ฉายพงษ์, & ปริมล อ่อนมะเสน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กวัยเรียน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารควบคุมโรค, 46(2), 152-161.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178.

อมลรดา รงค์ทอง, & สุพัฒนา คำสอน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 147-158.

Hersh, L., Salzman, B., & Synderman, D. (2015). Health literacy in primary care practice. American Family Physician, 92(2), 118-124.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larson, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634.

Kiess, H. O. (1989). Statistical concepts for the behavioral sciences. Boston: Allyn and Bacon.

Mahyiddin, N. S., Mohamed, R., Mohamed, H. J. J., & Ramly, N. (2016). High knowledge on dengue but low preventive practices among residents in a low cost flat in Ampang, Selangor. Malaysian Journal of Nursing, 8(1), 39-48.

Mungmonphoncharoen, S., Apidechkul, T., & Dokmaingam, P. (2018). Factors associated with the recurrence of dengue fever in villages in Chiang Rai, Thailand: A community-based case-control study. Journal of Health Research, 33(6), 438-449.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Selvarajoo, S., Liew, J. W. K., Tan, W., Lim, X. Y., Refai, W. F., Zaki, R. A., et al. (2020). Knowledge, attitude and practice on dengue prevention and dengue seroprevalence in a dengue hotspot in Malaysia: A cross-sectional study. Scientific Reports, 10(1), 1-13.

Wong, L. P., Shakir, S. M., Atefi, N., & AbuBakar, S. (2015). Factors affecting dengue prevention practices: nationwide survey of the Malaysian public. PloS one, 10(4), 1-16.

Zaki, R., Roffeei, S. N., Hii, Y. L., Yahya, A., Appannan, M., Said, M. A., et al. (2019). Public perception and attitude towards dengue prevention activity and response to dengue early warning in Malaysia. PloS one, 14(2), 1-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03