ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหิน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนัญญาณ์ จิรธนเปรมปรีดิ์ นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, สมรรถภาพปอด เหมืองหิน

บทคัดย่อ

การสัมผัสฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองหินอาจทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหิน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหิน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหิน จำนวน 8 หมู่บ้าน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการหาความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านความรู้ ข้อมูลด้านทัศนคติ ข้อมูลด้านพฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละออง ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ว ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 10.63 คะแนน (SD=1.86) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง อยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 37.81 คะแนน (SD=3.69) พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละออง อยู่ในระดับต่ำ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 23.11 คะแนน (SD=4.35) สำหรับการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหิน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ระยะห่างจากที่อยู่อาศัยถึงเหมืองหิน (เมตร) มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดค่า FVC/FEV1 (ค่าปริมาตรอากาศในวินาทีแรกต่อความจุปอดสูงสุด) ของประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองหินได้ร้อยละ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความเข้มข้นของฝุ่นที่มาจากการโม่หิน จึงทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองหินมีโอกาสสัมผัสฝุ่นละอองมากกว่า

References

จิราภรณ์ หลาบคำ, จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา, & ธนาพร ทองสิม. (2560). พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นหินของพนักงานโรงโม่ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19 (1), 71-83.

จุฑาทิพย์ จริยาเอกภาส. (2557). ผลกระทบจากโรงโม่หินที่มีต่อประชาชนในเขตตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชะฎายุทธ์ ปัทเมฆ. (2560). วิเคราะห์สมรรถภาพการทำงานปอดในคนงานโรงโม่หิน จังหวัดสระแก้ว ปีพ.ศ. 2546-2560. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(6), 999-1004.

บุปผา โพธิกุล, สุรินธร กลัมพากร, & วณา เที่ยงธรรม. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิลิโคซิสของคนงานโรงโม่หิน ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Graduate Research Conference 2014, 1749-1758.

พิจิตรา เงินแพทย์. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ประกอบการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมโรงโม่หิน กรณีศึกษา จังหวัดสระบุรี ชลบุรี ราชบุรีและลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิชชานันท์ ขจรเพ็ชร, อาทิตย์ โพธิ์ศรี, ณัฐนารี เอมยงค์, & ธนาศรี สีหะบุตร. (2565). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กในเด็กนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารควบคุมโรค, 48(2), 404-414.

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. (2561). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

เลขา ดีแท้. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นกับภาวะสุขภาพของพนักงานโรงโม่หิน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 3(2), 57-66.

วิไลภรณ์ กิมประพันธ์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงงานผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉลียว.

ศิริทร ดวงสวัสดิ์. (2559). อัตราความชุกของอาการระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของเด็กนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียน 2 แห่ง ในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรม จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริอร สินธุ, อุมาภรณ์ กำลังดี, & รวมพร คงกำเนิด. (2554). ผลของสมรรถภาพปอดของประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 93-106.

ศิริอุมา เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, น้ำเพชร หมั่นราช, & อโณทัย เกื้อกูล. (2562). การประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้และไกล โรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(2), 336-348.

สิทธิชัย มุ่งดี, สุรัตน์ บัวเลิศ, อรอนงค์ ผิวนิล, & วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. (2548). ความชุกของอาการทางระบบหายใจและสมรรถภาพปอดของนักเรียนในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่บด หรือย่อยหิน จังหวัดสระบุรี. Applied Environmental Research, 27(1), 1-12.

อุบล ศรีแก้ว, วีระพร ศุทธากรณ์, & วันเพ็ญ ทรงคำ. (2562). ผลของการอบรมความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมและการดูแลตรวจตราต่อการใช้อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจของคนงานโรงโม่หิน. พยาบาลสาร, 46(1), 17-29.

เอกพล กิติกา. (2564). ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน จากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมโรงโม่หิน ในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโรค, 8(2), 76-90.

Arumugam, E., Rajkumar, P., Dhanaraj, B., Govindasamy, E., Jaganathasamy, N., Mathiyazhakan, M., et al. (2021). Determining pulmonary function and the associated risk factors among stone quarry workers in a suburban area of Chennai, Tamil Nadu, India. Lung India, 38(6), 558–563.

Bloom, B. S. (1979). Humen characteriatics and school learning. New York: Mc Graw-Hill Book.

Butt, I. M., Mustafa, T., Rauf, S., Razzaq, A., & Anwer, J. (2021). Pulmonary function parameters among marble industry workers in Lahore, Pakistan. F1000Research, 10, e938.

Calvert, G. M., Rice, F. L., Boiano, J. M., Sheehy, J. W., & Sanderson, W. T. (2003). Occupational silica exposure and risk of various diseases: An analysis using death certificates from 27 states of the United States. Occupational and environmental medicine, 60(2), 122–129.

Ivanova, O., Khosa, C., Bakuli, A., Bhatt, N., Massango, I., Jani, I., Saathoff, E., Hoelscher, M., & Rachow, A. (2020). Lung Function Testing and Prediction Equations in Adult Population from Maputo, Mozambique. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(12), 1-16.

Nemer, M., Giacaman, R., & Husseini, A. (2020). Lung function and respiratory health of populations living close to quarry sites in palestine: A cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(17), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03