ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Phatthamaphorn Hinphet Chiang Mai University
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

Health Behavior Changing Program, Ethnic Group, Pga K’nyau, Hypertension Risk, Galyani Vadhana District

บทคัดย่อ

       ปัจจุบันแนวโน้มของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีมากขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตามความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอพื้นที่ห่างไกล มีประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ร้อยละ 93.17 แต่มีจำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองเพียง ร้อยละ 94.27 97.46 และ 98.98 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2563) ทำให้เห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กำลังระบาด และทวีความรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้ (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 30 คน สำหรับกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ รวมจำนวนทั้งหมด 60 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม คือการส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การส่งเสริมการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การส่งเสริมการรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมระยะเวลาในการศึกษา 10 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติในการป้องกันโรค และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการตรวจวัดระดับความดันโลหิต เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3 ครั้ง ทั้งในช่วงก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square test พบว่า ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะประชากรเช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฯลฯ ในช่วงก่อนทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Independent t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในช่วงก่อนทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนในช่วงหลังทดลอง (สัปดาห์ที่ 5) และระยะติดตาม (สัปดาห์ที่ 10) พบว่ากลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตในช่วงหลังทดลอง และระยะติดตามดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนทดลอง (p<0.05) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันทั้งในช่วงก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตาม สรุปได้ว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคสามารถนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและในประชากรหรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้

References

กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จาก http://www.thaincd.com/ document/file/info/non-communicabledisease/คู่มือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ_สมองฯ.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/screen_risk.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=6833128a5d76a6afcae3e4a6af0e718c

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารกองการพยาบาล, 37(1). 42-51.

ทรรศมน แสงพิทักษ์, & ปาหนัน พิชยภิญโญ. (2553). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทัศนีย์ จินาธรรม. (2561). การศึกษาความเชื่อและพฤติกรรมด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 10(1), 179-192.

นัทฐิณี บุญช่วย. (2564). ประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(2), 101-112.

ปฤษณา กองวงค์ (2561). อาหารชนเผ่า เสน่ห์แห่งขุนเขา.ข่าวสด. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562, จาก https://www.khaosod.co.th/travel/ news_1744699

วาสนา เกตุมะ. (2552) ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อความเชื่อและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยเจริญพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป 2562. กรุงเทพฯ: ทริค ธิงค์.

อรนุช พงษ์สมบูรณ์. (2552). โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับปฐมภูมิในชุมชน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03