ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Yanisa Phungkat Siamtechnology college

คำสำคัญ:

Health Literacy, Health Literacy Promotion Behaviors, Particulate Matters, Secondary School Students

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 470 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก และส่วนที่ 3 พฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน

ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 90.16 (SD=11.59) พฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.92 (SD=8.83) และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก พบว่า พฤติกรรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดการตนเอง ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างถูกต้อง และควรมีการให้ความรู้เรื่องการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ในวิชาเรียน กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก รวมถึงจัดหาสื่อเพื่อใช้ประกอบในการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้เกิดการปฏิบัติตนในการป้องกันสุขภาพ ดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องจนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้ และกลายเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีในระยะยาวต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2565). พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 9/2565. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/ brc/news.php?news=23860&deptcode=brc&news_views=5747

กรมอนามัย. (2561). แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย.

กรมอนามัย. (2563). แนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับสถานศึกษา.

ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/1d5GcC0DTeKIApYI357Wv2Jhzi0dQThWI/view

กรมอนามัย. (2564). PM2.5 แนวโน้มพุ่ง กรมอนามัย-ศธ.ห่วงเด็กแนะโรงเรียนทำห้องปลอดฝุ่น. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2558761

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานการประชุมคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข: ประเด็นเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2564. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จาก https://hia.anamai.moph.go.th/web-upload/12xb1c83353535e43f224a05e184d 8fd75a/m_magazine/35644/2920/file_down load/96e5c50a7a65855da35267ce3937ae26.pdf

กรีนพีช ไทยแลนด์. (2565). ภาระชีวิตจากมลพิษทางอากาศของประเทศไทยปี 2564. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2022/06/ce3e441f-the_burden_of_air_pollution_in_ thailand_2021_th_compressed.pdf

กรุงเทพมหานคร. (2564). 10 มาตรการป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/1gEhd

ชลดา อานี, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, & ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้คําถามเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 137-143.

ชาตรี แมตสี่. (2560). การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2). 96-111.

เมธ์วดี นามจรัสเรืองศรี, ศิริทร ดวงสวัสดิ์, & ทิพย์วัลย์ ปราบคะเซ็น. (ม.ป.ป.). การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) กรณีศึกษาโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565, จาก https://mwi.anamai.moph.go.th/th/mwi-research/download?id=87144& mid=36865&mkey=m_document&lang=th&did=28106

วานิศา ประโยชน์มี, อรพินท์ สีขาว, & ชฎาภา ประเสริฐทรง. (2563). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 150-157.

วิชัย ศรีผา. (2564). การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, 14(1), 29-39.

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564). AdiCET จัดอบรมการสร้างความตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ณ โรงเรียนจอมทอง. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://sdgs.cmru.ac.th/index.php?ge=sec&ptid=138&lang=

สุกัญญา คณะวาปี. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(2), 105-118.

World Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva, 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03