ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในญาติสายตรง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • jutamanee saman -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ญาติสายตรง

บทคัดย่อ

โรคเบาหวาน และการเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความชุกเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งญาติสายตรงจะเป็นกลุ่มเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากสารพันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ควรสร้างความตระหนักและการรับรู้ถึงความเสี่ยงของตนเองต่อการเป็นโรคเบาหวาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในญาติสายตรง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical Cross-sectional study) เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยพหุ (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% ค่า p-value กลุ่มตัวอย่างจำนวน 224 คน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้ายแล้วพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ได้แก่ (1) เพศชาย (ORadj=7.87, 95%CI; 2.77-22.35, p-value<0.001) และ (2) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานระดับดี (ORadj= 0.21, 95%CI; 0.07-0.68, p-value=0.009) สรุปผลการศึกษา เพศและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น หน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จึงควรมีการสร้างความตระหนักในเรื่องการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของการป่วยเป็นโรคเบาหวาน รับรู้ต่ออุปสรรคในการปฏิบัติ สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ เช่น การได้รับข่าวสารทางจากสื่อ การได้รับคำแนะนำจากคนในครอบครัว และแรงจูงใจด้านสุขภาพ เพื่อให้ญาติสายตรงมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เหมาะสม และช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก https://thaitgri.org/?p=37869

กรมควบคุมโรค. (2560). โรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3aqCgDw

กระทรวงสาธารณสุข. (2564ก). อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

กระทรวงสาธารณสุข. (2564ข). อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากร เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3upQVnW

กระทรวงสาธารณสุข. (2564ค). อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากร เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ ณ วันที่ 15 กันยายน 2564. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3umYzzy

กองโรคไม่ติดต่อ กรบควบคุมโรค. (2564). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวานให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

รณิดา เตชะสุวรรณา, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, บัณฑิต ศรไพศาล, & ประวิช ตัญญสิทธิสุนทร. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองในคนไทย. วารสารควบคุมโรค, 46(3), 268-279.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2560). โรคเบาหวาน (Diabetes) อาการ, สาเหตุ, การรักษา, วิธีป้องกัน ฯลฯ. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3HXuYTI

สุริยา หล้าก่ำ, & ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้อองกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 85-94.

สำเภา แก้วโบราณ, นิภาวรรณ สามารถกิจ, & เขมารดี มาสิงบุญ. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานในวัยรุ่นที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 218-227.

อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, & ปริศนา รถสีดา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1), 85-95.

อัญชลี สามงามมี, เกสร สำเภาทอง, & นนท์ธิยา หอมขำ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 99-108.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. Health Education Monographs, 2(4), 409-419.

Best, J. W. (1981). Research in education. 4th ed. Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. (1975). Taxonomy of education objective, handbook 1: Cognitive domain. New York: David Mckay.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Retrieved June 17, 2021, from https://core.ac.uk/download/pdf/205199338.pdf

Karvellas, C. J., Fedorak, R. N., Hanson, J., & Wong, C. K. (2007). Increased risk of colorectal cancer in ulcerative colitis patients diagnosed after 40 years of age. Canadian Journal of Gastroenterology, 21(7), 443-446.

Saeedi, P., Petersohn, I., Salpea, P., Malanda, B., Karuranga, S., Unwin, N., et al. (2019). Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9(th) edition. Diabetes Research and Clinical Practice, 157, 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30