ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศของห้องโดยสารรถเก็บขยะกับผลกระทบต่อสุขภาพ: กรณีศึกษาเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชลลดา พละราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • บุษยา จูงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

เชื้อรา, เชื้อแบคทีเรีย, รถเก็บขยะ, พนักงาน

บทคัดย่อ

พนักงานเก็บขยะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสจุลินทรีย์ในอากาศจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศภายในห้องโดยสารของรถเก็บขยะ เปรียบเทียบความแตกต่างปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศระหว่างภายในและภายนอกห้องโดยสาร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงานและด้านสภาพรถเก็บขยะกับปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศภายในห้องโดยสารรถเก็บขยะ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศภายในห้องโดยสารของรถเก็บขยะกับผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ กลุ่มตัวอย่างคือรถเก็บขยะ จำนวน 24 คัน พนักงานเก็บขยะ จำนวน 86 คน และอาหารเลี้ยงเชื้อ จำนวน 576 ตัวอย่าง การเก็บเชื้อราและแบคทีเรียดำเนินการตามวิธีมาตรฐาน NIOSH Method 0800 ข้อมูลของอาสาสมัครเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลปริมาณขยะที่เก็บต่อวัน ประเภทรถ และอายุการใช้งานรถได้จากฐานข้อมูลของเทศบาล วิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศระหว่างภายในและภายนอกห้องโดยสารด้วย t-test แบบ independent และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงคุณภาพด้วยการทดสอบไคว์สแควร์และการทดสอบของฟิสเชอร์ สำหรับตัวแปรเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า เชื้อราและแบคทีเรียในอากาศภายในห้องโดยสารรถเก็บขยะอยู่ระหว่าง 331.23-1,726.04 CFU/m3 และ 413.22-1,382.97 CFU/m3 ตามลำดับ และภายนอกอาคารอยู่ระหว่าง 300.66-485.39 และ 314.34-504.60 CFU/m3 ตามลำดับ รถเก็บขยะมีเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศเกินค่าเฝ้าระวังสำหรับอาคารสาธารณะของกรมอนามัย (≤500 CFU/m3) ร้อยละ 54.18 และ 70.83 ตามลำดับ ปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียภายในและภายนอกห้องโดยสารรถเก็บขยะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01 และ p<0.001, ตามลำดับ) ปริมาณขยะที่เก็บต่อวันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศในห้องโดยสารรถขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและอายุการใช้งานรถเก็บขยะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณเชื้อราในอากาศในห้องโดยสารรถขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 และ p<0.01, ตามลำดับ) ปริมาณเชื้อราในอากาศในห้องโดยสารรถเก็บขยะมีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้ นํ้ามูกไหล ไอ จาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ดังนั้นเสนอแนะให้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในห้องโดยสาร จัดทำคู่มือการทำความสะอาดและการบำรุงรักษารถเก็บขยะ และการสวมหน้ากากอนามัย
เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าบู๊ท ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/ report1.php?year=2562

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารสำหรับเจ้าหน้าที่. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก http://ghh.anamai.moph.go.th

กรมอนามัย. (2565). ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://laws.anamai.moph.go.th/th/practices/211864

ซูไบด๊ะ หะยีวาเงาะ, พูรกอนนี สาและ, อับดุลลาห์ โดลาห์ ดาลี, คอสียาห์ สะลี, & นุรอัยนี หะยียูโซะ. (2561). การปนเปื้อนของแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศในรถยนต์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 238-244.

ณัฐชา แป้นสุข, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, เดโช แขน้ำแก้ว, & อุดมศักดิ์ เดโชชัย. (2565). คุณภาพชีวิตของพนักงานเก็บขยะเขตพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งหนึ่งใน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 221-243.

ดารณี จารีมิตร, อรรจน์ เศรษฐบุตร, ชนิกานต์ ยิ้มประยูร, & เฉลิมวัฒน์ ตันตสวัสดิ์. (2559). โรคระบบทางเดินหายใจ: ความเสี่ยงร้ายแรงจากการออกแบบและจัดการอาคารสำนักงานที่ไม่เหมาะสม. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 4(2), 3-19.

นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, & ธานี แก้วธรรมานุกูล. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร, 44(2), 138-150.

มาลี เมฆาประทีป. (ม.ป.ป.). ราก่อภูมิแพ้ และราสร้างสารพิษ. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565, จาก https://hugepdf.com/download/allergenic-and-toxigenic-fungi_pdf

ทิพเนตร ผุยปัญญา, วนิดา สีอุบล, สุจินันท์ ศรีนครา, & สาธินี ศิริวัฒน์. (2562). การประเมินฝุ่นละอองและจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารหอพัก: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(3), 77-85.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2553). ข้อควรระวังในการใช้ Chi-square Test ในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 55-58.

ศราวุฒิ แสงคำ, & จำลอง อรุณเลิศอารีย์. (2562). สิ่งคุกคามสุขภาพในพนักงานเก็บขนมูลฝอยและแนวทางการป้องกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(6), 649-657.

ศิริพร คำวานิล, & ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563) ขยะมูลฝอย: ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นอย่างไร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(2), 144-157.

Binion, E., & Gutberlet J. (2012). The effects of handling solid waste on the wellbeing of informal and organized recyclers: A review of the literature. International Journal of Occupational and Environmental Health, 18(1), 43-52.

Katiyar V. (2013). Assessment of indoor air micro-florain selected schools. Advances in Environmental Research, 2(1), 61–80.

Madsen, A. M., Alwan, T., Ørberg, A., Uhrbrand, K., & Jørgensen, M. B. (2016). Waste workers’ exposure to airborne fungal and bacterial species in the truck cab and during waste collection. The Annals of Occupational Hygiene, 60(6), 651–668.

Madsen, A. M., Frederiksen, M. W., Bjerregaard, M., & Tendal, K. (2020). Measures to reduce the exposure of waste collection workers to handborne and airborne microorganisms and inflammogenic dust. Waste Management, 101, 241-249.

Møller, S. A., Rasmussen, P. U., Frederiksen, M. W., & Madsen, A. M. (2022). Work clothes as a vector for microorganisms: Accumulation, transport, and resuspension of microorganisms as demonstrated for waste collection workers. Environment International, 161, 107112.

Nair, A. T. (2021). Bioaerosols in the landfill environment: An overview of microbial diversity and potential health hazards. Aerobiologia, 37, 185–203.

Salvaraji, L., Jeffree, M. S., Avoi, R., Atil, A., Akhir, H. M., Shamsudin, S. B. B., et al. (2020). Exposure risk assessment of the municipal waste collection activities during COVID-19 pandemic. Journal of Public Health Research, 9, 484-489.

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01