ผลของโปรแกรมโภชนบำบัดเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านแสนพัน ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • Sasikarn Songtummin -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโภชนบำบัดเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขต รพ.สต.บ้านแสนพัน ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานอายุ 30 ปีขึ้นไป มีค่า eGFR อยู่ในช่วง 60-89 จำนวน 35 คน คำนวณหากลุ่มตัวอย่างและเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 88.57 มีอายุ 56-65 ปี ร้อยละ 51.43 อายุเฉลี่ย 60.83 จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 62.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 1,000-5,000 บาทร้อยละ 48.57 ส่วนใหญ่ประกอบอาหารรับประทานเองร้อยละ 57.14 หลังเข้าโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องอาหารสำหรับชะลอความเสื่อมของไตสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าโปรแกรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วที่ eGFR>5 mL/min/1.73 m2 /year มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และ eGFR<5 mL/min/1.73 m2 /year มีจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 60

สรุปผลพบว่า โปรแกรมโภชนบำบัดเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขต รพ.สต.บ้านแสนพัน ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องอาหารชะลอความเสื่อมของไต มีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ไม่เปลี่ยนแปลง และมีการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วที่ eGFR<5 mL/min/1.73 m2 /year คิดเป็นร้อยละ 60 จึงควรมีการส่งเสริมกิจกรรมลงไปสู่ รพ.สต.อื่นๆในอำเภอกุสุมาลย์ต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา กาลสัมฤทธิ์. (2560). หนังสือโภชนาการสำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์.

จิราภรณ์ ชูวงศ์, & เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์. (2554). ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 41-50.

เจริญ เกียรติวัชรชัย. (2559). คำแนะนำสำหรับการดูแลและรักษาไต. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์, 5, 5-18.

พัทธนันท์ ศรีม่วง. (2554). อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนบำบัด. กรุงเทพฯ: เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์.

พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. (2559). ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 205-215.

เพ็ญพร ทวีบุญ, พัชราพร เกิดมงคล, & ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 129-145.

ไพรินทร์ สำราญรัมย์. (2557). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รศ.คลินิก แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์. (2559). การขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ 20 ปี กสธ. HbA1c New Concept. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2662, จาก https://home.kku.ac.th/phlib/doc/LibSkills/RefKKUstyle.pdf.

รสสุคนธ์ วาริทสกุล. (2557). การจัดการอาหารเพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 22-28.

รุจิรา สัมมะสุต. (2552). หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปราจีนบุรี: สุพัตราการพิมพ์.

โรงพยาบาลกุสุมาลย์. (2562). ข้อมูล HOSxP. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562, จาก http://hosxp.net/joomla25/ โปรแกรม HOSxP โรงพยาบาลกุสุมาลย์

วิภาวรรณ อะสงค์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำของผู้ป่วยไตเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2557). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

สุนิสา สีผม, วรรณภา ประไพพานิช, พูลสุข เจนพานิชย์, & วรางคณา พิชัยวงศ์. (2557). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อการชะลอความเสื่อมของไตต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 25(1), 16-31.

อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์. (2557). กินอย่างไรให้ไตแข็งแรง. กรุงเทพฯ: เฮลธ์เวิร์ค.

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., et al. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study Group. Nephrol Dial Transplant, 25(5), 1567-1575.

Pugh-Clarke, K., Naish, P. F., & Mercer, T. M. (2006). Quality of life in chronic kidney disease. Journal of Renal Care, 32(3), 167–171.

Yamane, T. (1970). Statistics:-An introductory analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weather Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03