ผลของน้ำผึ้งต่อการรักษาคุณสมบัติของสารแอนโทไซยานิน วิตามินซี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในน้ำลูกหม่อนเนกต้า

ผู้แต่ง

  • ศรศักดิ์ พื้นเกาะ Master of Public Health Student in Nutrition for Health, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • รัฐพล ไกรกลาง หลักสูตรโภชนาการเพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: สารทดแทนความหวาน, น้ำผลไม้เนกต้า, ลูกหม่อน, แอนโทไซนานิน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

ณ ปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ผักและผลไม้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาแปรรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค น้ำผลไม้เนกต้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม โดยมีการเติมสารให้ความหวานเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา รวมทั้งช่วยให้สารที่มีประโยชน์ เช่น สารพฤกษเคมีต่างๆ ในผลิตภัณฑ์มีความเสถียรมากขึ้น ถึงแม้ว่าสารให้ความหวานที่นำมาใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมอาหารจะได้รับรองความปลอดภัย แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของสารทดแทนความหวานระหว่างน้ำผึ้งและแซ็กคาริน ที่เติมลงในน้ำลูกหม่อนผงสกัดหยาบ ในแง่ของการรักษาสารแอนโทไซยานิน วิตามินซี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยทำการทดลองที่อุณหภูมิในการเก็บรักษา 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 42 วันซึ่งพบว่า ความเข้มข้นของน้ำผึ้ง 7.5% (H-1) และแซกคารีน 0.008% (S-1) ทำให้มีสารแอนโทไซยานินคงอยู่ได้ดีที่สุดคือ 1774.30±31.43 และ 1886.37±27.14 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ และช่วยให้ค่าครึ่งชีวิตของแอนโทไซยานินมีอายุที่นานยิ่งขึ้นคือ 83.01 และ 97.83 วัน ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ความเข้มข้นของสารให้ความหวานดังกล่าวยังช่วยรักษาปริมาณวิตามินซีได้ที่ 12.99±0.44 และ 6.09±0.12 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร และรักษาฤทธิ์คุณลักษณะในการเก็บกินอนุมูลอิสระ (DPPH•EC50) มีค่า 24.91±0.11 และ 33.67±0.18 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สำหรับการวิเคราะห์ฤทธิ์ในการทำลายอนุมูลอิสระ (FRAP assay) พบว่าความเข้มข้นของสารให้ความหวานดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 118.44±2.79 และ 163.31±2.64 มิลลิกรัมสมมูลกรดแอสคอร์บิก/มิลลิลิตร จากข้อมูลยังกล่าวชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นสูงสุดของน้ำผึ้ง (7.5%) สามารถรักษาสารสำคัญในน้ำผลไม้เนกต้าได้ ซึ่งให้ผลคล้ายกับความเข้มข้นสูงสุดของแซคคาริน (0.008%) ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ฉะนั้นการนำน้ำผึ้งซึ่งเป็นสารทดแทนความหวานที่พบในธรรมชาติ ทดแทนการใช้สารให้ความหวานประเภทสารสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมน้ำดื่มผลไม้ จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักในแง่ของการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ในกรณีที่มีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

References

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2553). แอนโทไซยานิน (Anthocyanin). กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2541). ฉลากโภชนาการ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 182) พ.ศ. 2541. ค้นเมื่อ

เมษายน 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/D/047/23.PDF

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561). วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 389) พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P389-cut.pdf

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, & วิเชียร จีรวงส์. (2556). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 1 น้ำกระสายยา (พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วริพัสย์ อารีกุล, สิริพรรณ กิตตวรพัฒน์, & กชรัตน์ วงศ์ณรัตน์. (2553). ผลของอุณหภูมิแช่เย็นต่อความคงตัวของแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในน้ำบลูเบอร์รี่และ บลูเบอร์รี่เข้มข้น. วารสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 48, 245-251.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). โครงการสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” เป็นเครื่องมือใช้สำหรับการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภคเพื่อลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียม และไขมัน: หน่วยรับรองการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการฯ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, http://healthierlogo.com/version-thai/#top

Alan, H. M., & Geza, H. (1981). Vacuolar contents of fruit subepidermal cells from vitis species. Plant Physiology, 68(3),

-692.

Association of Official Analytical Chemists [AOAC]. (2019). Official methods of analysis of the Association of Official Analytical Chemists (21st ed.). Washington, DC: AOAC.

Clegg, K. M., & Morton, A. D. (1968). The phenolic compounds of blackcurrant juice and their protective effect on ascorbic acid. International. Journal of Food Science & Technology, 3(3), 277-284.

Compendium of Methods for Foods. (2003). Total vitamin C content, Thailand 1st Edition 2-112 to 2-114. [s.n.].

Gundogdu, M., Muradoglu, F., Gazioglu-Sensoy, R.I. & Yilmaz, H. (2011). Determination of fruit chemical properties of Morus nigra L., Morus alba L. and Morus rubra L. by HPLC. Scientia Horticulturae, 132, 37–41.

Herbig, A. L., & Catherine, M. G. C. (2017). Factors that impact the stability of vitamin C at intermediate temperatures in a food matrix. Food Chemistry, 220, 444–451.

Joslyn, M. A., & Supplee, H. (1949). Solubility of oxygen in solutions of various sugars. Food research, 14(3), 209–215.

Jukkrapan, K., Marisa, P., & Patcharee, T. (2016). An analysis of nutritional values and antioxidants of mulberry (Morus nigra Linn.) puree. Economics Journal, 59(1), 28–38.

Kirca, A., & Cemeroglu, B. (2003). Degradation kinetics of anthocyanins in blood orange juice and concentrate. Food Chemistry, 81(4), 583-587.

Kübra, E., Meltem, T., & Mehmet, Ö. (2018). Effect of sweeteners on anthocyanin stability and colour properties of sour cherry and strawberry nectars during storage. Journal of Food Science and Technology, 55(10), 4346–4355.

Kübra, E., Meltem, T., & Mehmet, Ö. (2020). Color and stability of anthocyanins in strawberry nectars containing various co-pigment sources and sweeteners. Food Chemistry, 310, 125856.

Li, Y., Guo, C., Yang, J., Wei, J., Xu, J., & Cheng, S. (2006). Evaluation of antioxidant properties of pomegranate peel extract in comparison with pomegranate pulp extract. Food Chemistry, 96(2), 254–260.

Lien-Ai, P. H., Hua, H., & Chuong, P. H. (2008). Free radicals, antioxidants in disease and health. International Journal of Biomedical Science, 4(2), 89–96.

Maria, C. L., Monica, S., Roberto, P., Ornella, C., Paola, P., Anna, I. S., et al. (2004). Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in different human cell lines. Carcinogenesis, 25(8), 1427–1433.

Michael, R., & Arpita, B. (2008). Phytochemicals and age-related eye diseases. Emerging Science, 66(8), 465–472.

Pawlowska, A. M. Oleszek, W., & Braca, A. (2008). Quali-quantitative Analyses of Flavonoids of Morus nigra L. and Morus alba L. (Moraceae) Fruits. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 56, 3377–3380.

Pisey, P., Chae, H. S., Nhoek, P., Kim, Y. M., & Chin, Y. W. (2017). Chemical constituents with proprotein convertase subtilisin/ kexin type 9 mrna expression inhibitory activity from dried immature morus alba fruits. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 65(26), 5316–5321.

Qingxia, Y., Yufeng, X., Wei, W., Yuhua, Y., Hong, Y., Saqib, J., et al. (2015). Extraction optimization, characterization and antioxidant activity in vitro of polysaccharides from mulberry (Morus alba L.) leaves. Carbohydrate Polymers, 128, 52–62.

Reinisalo, M., Karlund, A., Koskela, A., Kaarniranta, K., & Reijo, O. K. (2015). Polyphenol Stilbenes: Molecular Mechanisms of Defence against Oxidative Stress and Aging-Related Diseases. Hindawi Publishing Corporation, 1, 1-24.

Rojas, A. M., & Gerschenson, L. A. (2001). Ascorbic acid destruction in aqueous model systems: An additional discussion. Journal of the Science of Food and Agricultu, 81, 1433–1439.

Shimamura, T., Sumikura, Y., Yamazaki, T., Tada, A., Kashiwagi, T., Ishikawa, H., et al. (2014). Applicability of the DPPH assay for evaluating the antioxidant capacity of food additives - inter-laboratory evaluation study. The Japan Society for Analytical Chemistry, 30, 717-721.

Sonia de, P. T., & Maria, T. S. B. (2008). Anthocyanins: From plant to health. Phytochemistry Reviews, 7, 281–299.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15