ปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี และฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ ของส้มโอสายพันธุ์ขาวหอม ทองดี และมณีอีสาน

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ สุขเพสน์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัฐพล ไกรกลาง หลักสูตรโภชนาการเพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ส้มโอ

บทคัดย่อ

ส้มโอ (Citrus grandis (L.) Osbeck) เป็นผลไม้เศรษฐกิจของไทยที่นิยมรับประทาน ซึ่งอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี (phytochemical) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีประโยชน์ในการป้องกันโรคโดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี folin-ciocalteu spectrometric method โดยใช้กรดแกลลิก (gallic acid) เป็นสารมาตรฐาน ฟลาโวนอยด์รวมด้วยวิธี aluminium chloride colorimetry method โดยใช้เควอซิทิน (quercetin) เป็นสารมาตรฐาน วิตามินซีโดยใช้วิธีไทเทรตกับสารละลายไอโอดีน และฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ วิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) จากส่วนต่างๆ ของผลส้มโอ 3 สายพันธุ์ คือ ขาวหอม ทองดี และมณีอีสาน จากการศึกษาพบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมมีมากที่สุดในส่วนของเปลือกกลางของสายพันธุ์ขาวหอม (98.11±8.70 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมีมากที่สุดในส่วนเนื้อของสายพันธุ์ขาวหอม (54.60±1.05 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิทินต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) ปริมาณวิตามินซีมีมากที่สุดในส่วนเนื้อของสายพันธุ์ทองดี (57.64±2.17 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) สำหรับฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระทดสอบด้วยวิธี DPPH และ FRAP พบว่าส่วนเนื้อของสายพันธุ์ขาวหอม และทองดี มีฤทธิ์ดีที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าส้มโอสายพันธุ์ขาวหอมมีปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อ และเปลือกนอก จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของผลส้มโออุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ ซึ่งอาจจะนำไปพัฒนาเป็นอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่อไปในอนาคต

References

กนกอร สุดโต. (2550). นารินจินจากส้มโอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2558). ส้มโอ. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php? action=viewpage&pid=134

นิจศิริ เรืองรังสี, & ธวัชชัย มังคละคุปต์. (2559). ส้มมือ (Som Mue). ใน สมุนไพรไทย เล่ม 1. (หน้า 283). กรุงเทพฯ: บี เฮลท์ตี้.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2558). เคมีอาหาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บัณฑรวรรณ ธุระพระ, จันทนา บุญยะรัตน์, เยาวเรศ ชูลิขิต, & สุภาวดี ดาวดี. (2559). การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในส้มโอ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2559, 11(ฉบับพิเศษ), 80-91.

วลัยภรณ์ โท้นพราห์ม. (2560). การศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในผลส้มโอสด ส้มโอตัดแต่ง และน้ำส้มโอพันธุ์ท่าข่อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คุณค่าทางโภชนาการในผลไม้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี. (2556). การศึกษาการกระจายตัวของการต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากส่วนต่างๆ ของส้มโอ. กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

Anderson, K. J., & Teuber, S. S. (2001). Walnut polyphenolics inhibit in vitro human plasma and LDL oxidation, biochemical and molecular action of nutrients. Journal of Nutrition, 131(11), 2837-2842.

Doughari, J. H. (2012). Phytochemicals: Extraction methods, basic structures and mode of action as potential chemotherapeutic agents. Phytochemicals–A Global Perspective of Their Role in Nutrition and Health, 1-32.

Hijaz, F., Al-Rimawi, F., Manthey, J. A., & Killiny, N. (2020). Phenolics, flavonoids and antioxidant capacities in Citrus species with different degree of tolerance to Huanglongbing. Plant Signaling & Behavior, 15(5), 1752447.

Panche, A. N., Diwan, A. D., & Chandra, S.R. (2016). Flavonoids: an overview. Journal of Nutritional Science, 5(47), 1-15.

Poulose, S. M., Miller, M. G., & Shukitt-Hale, B. (2014). Role of walnuts in maintaining brain health with age. The Journal of Nutrition, 144(4 Suppl), 561S–566S.

Singh, M., Suman, S. & Shukla, Y. (2014). New enlightenment of skin cancer chemoprevention through phytochemicals: In vitro and in vivo studies and the underlying mechanisms. BioMed Research International, e243452.

Soobrattee, M. A., Neergheen, V. S., Luximon-Ramma, A., Aruoma, O. I. & Bahorun, T. (2005). Phenolics as potential antioxidant therapeutic agents: Mechanism and actions. Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis, 579(1), 200–213.

Sung, J. & Lee, J. (2010). Antioxidant and antiproliferative activities of grape seeds from different cultivars. Food Science and Biotechnology, 19(2), 321–326.

Traber, M. G., & Stevens, J. F. (2011). Vitamins C and E: beneficial effects from a mechanistic perspective. Free Radical Biology & Medicine, 51(5), 1000–1013.

Wanfang. (2008). Zhongguoxiandaizhongyao. Beijing: Modern Chinese Medicine. Zhongyaoyanjiuxieyiyi.

Zeb, A. (2020). Concept, mechanism, and applications of phenolic antioxidants in foods. Journal of Food Biochemistry, 2020, 1-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15