ความชุกของการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ของผู้สูงอายุ ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กรกวรรษ ดารุนิกร -
  • ชนัญญา จิระพรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ยุพรัตน์ หลิมมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฤทธิรงค์ จังโกฏิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคระบบทางเดินหายใจ, ฝุ่น PM2.5, ความชุก

บทคัดย่อ

       

ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่พบอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอเมือง โดยมีสัดส่วนการป่วยสูงกว่าอำเภออื่น ๆ ขณะที่แนวโน้มสถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบันยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้ข้อมูลจาก 43 แฟ้ม ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2563 ถึง 2564 จำนวน 43,534 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในการจัดการข้อมูล ผลการศึกษาพบความชุกของการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 16.8 (95%CI: 16.48-17.19) สูงสุดที่ตำบลโนนท่อน ร้อยละ 18.7 (95%CI: 16.11-21.44) โดยการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ที่พบมากสุดคือ โรคปอดบวม ร้อยละ 8.6 (95%CI: 8.34-8.86) โรคคอหอยอักเสบเฉียบพลัน ร้อยละ 4.1 (95%CI: 3.88-4.25) และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 2.2 (95%CI: 2.08-2.36) สรุปผลการศึกษา ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลโนนท่อนที่พบความชุกของการป่วยสูงสุด อีกทั้งโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ โรคปอดบวม โรคคอหอยอักเสบเฉียบพลัน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังโรคที่มีสาเหตุจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 เพื่อนำไปบริหารจัดการเชิงนโยบายและเป็นข้อมูลในเชิงบริหารจัดการด้านสุขภาพ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM2.5 ให้กับผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ต่อไป

    

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมอนามัย, & กรมควบคุมโรค. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ: กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2562). แนวทางการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). HDC-Report. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ report.php?source=pformated/format2_pm25.php&cat_id=9c647c1f31ac73f4396c2cf987e7448a&id=e50e0212eaf67d19164ea9a3393a15ce

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, & ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25, 461-474.

คคนางค์ วาดเขียน. (2563). โรคระบบทางเดินหายใจ ป้องกันไว้ปลอดภัยกว่า. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.naturebiotec.com/ protect-respiratory-disease-2020/

เครือข่ายสะอาด ประเทศไทย. (2562). สมุดปกขาวอากาศสะอาด. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

งานข้อมูลข่าวสารและงานไอที สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่. (2563). ICD10 TM. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563, จาก http://203.157.232.109/ hdc_report/frontend/web/index.php?r=cicd10tm%2Findex

ฐิตินันท์ อินทอง. (2558). การเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชน ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดุลยวัต ศรีสุโข, ภีมวัจน์ ทองปอน, & สมบัติ แสงธรรมวุฒิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของฝุ่นละอองกับยานพาหนะแต่ละกลุ่มบริเวณตลาดองครักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล, พยงค์ วณิเกียรติ, อัมพร กรอบทอง, & กมล ไชยสิทธิ์. (2563). ผลต่อสุขภาพของฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กลไกก่อให้เกิดโรค และการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(1), 187-202.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, กนกอร โพธิ์ทอง, กฤษณา อรุณรัตน์, ปัณณภัสร์ กิตติยาพรวัฒน์, เยาวภา แม่นปืน, & พชรกมล กลั่นบุศย์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของแรงงานทำไม้กวาดดอกหญ้า กรณีศึกษา: ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(3), 170–182.

วิษณุ อรรถวานิช. (2562). ต้นทุนของสังคมไทยจากมลพิษทางอากาศและมาตรการรับมือ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน. (2563). รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2554). รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). จำนวนประชากร. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/ new_stat/webPage/statByYear.php

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2562). ฝุ่นละอองขนาดเล็ก อันตรายที่มองไม่เห็น. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Alman, B. L., Pfister, G., Hao, H., Stowell, J., Hu, X., Liu, Y., et al. (2016). The association of wildfire smoke with respiratory and cardiovascular emergency department visits in Colorado in 2012: A case crossover study. Environmental Health, 15(1), 64.

Bernatsky, S., Smargiassi, A., & Edworthy, S. (2016). Fine particulate air pollution and systemic autoimmune rheumatic disease in two Canadian province. Environmental Research, 146, 85-91.

Burki, T. K. (2019). The innovations cleaning our air. The Lancet Respiratory Medicine, 7, 111-112.

Busso, I. T., Mateos, A. C., Juncos, L. I., Canals, N., & Carreras, H. A. (2018). Kidney damage induced by sub-chronic fine particulate matter exposure. Environment International, 121, 635–642.

Chow, S. C., Shao, J., & Wang, H. (2003). Sample size calculations in clinical research (2nd ed.). Boca Raton: Chapman & Hall.

Collins, T. W., & Grineski, S. E. (2019). Environmental injustice and religion: Outdoor air pollution disparities in Metropolitan Salt Lake City, Utah. Annals of the American Association of Geographers, 109(5), 1597–1617.

Division of Academic and Planning. (2016). Annual report 2016. Bangkok: Sirindhorn Hospital.

Kirrane, E. F., Luben, T. J., Benson, A., Owens, E. O., Sacks, J. D., Dutton, S. J., et al. (2019). A systematic review of cardiovascular responses associated with ambient black carbon and fine particulate matter. Environment International, 127, 305–316.

Kitjakrancharoensin, P., Yasan, K., Hongyantarachai, K., Ratanachokthorani, K., Thammasarn, J., Kuwuttiwai, D., et al. (2020). Prevalence and Risk Factors of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Among Agriculturists in a Rural Community, Central Thailand. International Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease, 15, 2189–2198.

Qi, M., Zhu, X., Zhu, X., Du, W., Chen, Y., Huang, T., et al. (2017). Exposure and health impact evaluation based on simultaneous measurement of indoor and ambient PM2.5 in Haidian, Beijing. Environ. Pollut, 220, 704–712.

Samoli, E., Stergiopoulou, A., Santana, P., Rodopoulou, S., Mitsakou, C., Dimitroulopoulou, C., et al. (2019). Spatial variability in air pollution exposure in relation to socioeconomic indicators in nine European metropolitan areas: A study on environmental inequality. Environmental Pollution, 249, 345–353.

Shou, Y., Huang, Y., Zhu, X., Liu, C., Hu, Y., & Wang, H. (2019). A review of the possible associations between ambient PM2.5 exposures and the development of Alzheimer’s disease. Ecotoxicology and Environmental Safety, 174, 344–352.

US.EPA. (2016). Particulate matter pollution. Retrieved November 5, 2020, from https://www.epa.gov/pm-pollution

Xu, M.-X., Ge, C.-X., Qin, Y.-T., Gu, T.-T., Lou, D.-S., Li, Q., et al. (2019). Prolonged PM2.5 exposure elevates risk of oxidative stress-driven nonalcoholic fatty liver disease by triggering increase of dyslipidemia. Free Radical Biology and Medicine, 130, 542–556.

Yang, Y., Guo, Y., Qian, Z. M., Ruan, Z., Zheng, Y., Woodward, A., et al. (2018). Ambient fine particulate pollution associated with diabetes mellitus among the elderly aged 50 years and older in China. Environmental Pollution, 243(Pt B), 815–823.

Zhang, A., Zhong, L., Xu, Y., Wang, H., & Dang, L. (2015). Tourists’ Perception of Haze Pollution and the Potential Impacts on Travel: Reshaping the Features of Tourism Seasonality in Beijing, China. Sustainability, 7(3), 2397–2414.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13