ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยต่อการปฏิบัติงาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 341 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงร้อยละ มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์โดย multiple ordinal logistic regression
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในระดับมาก ร้อยละ 76.2 ผลการวิจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ORadj=2.22, 95%CI=1.27-3.90) แรงจูงใจ (ORadj=5.17, 95%CI=2.90-10.68) และแรงค้ำจุน (ORadj=2.99, 95%CI=1.47-6.09)
ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัย พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แรงจูงใจ และแรงค้ำจุน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงควรเสริมสร้างและสนับสนุนในค่าตอบแทน ขวัญกำลังใจ การยกย่องเชิดชู เพื่อสร้างแรงค้ำจุนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, &นวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2). 92-103.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 1. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). การจัดระบบ อสม. และภาคประชาชน สำหรับ Local quarantine และ Home quarantine. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km08_120363.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับเจ้าหน้าที่ และ อสม.(นักรบเสื้อเทา ออกเคาะประตูบ้านทุกหลังคาเรือน). ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564, จาก http://www.hss05.com/pdf/คู่มือ%20อสม.%20COVID_19.pdf
ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, &วรเดช ช้างแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 16-28.
ไพบูลย์ งามสกุลพิพัฒน์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564, จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7892
ยุทธนา แยบคาย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(3), 145-155.
วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, & ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 25-31.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร. (2563). รายงาน อสม. อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จากhttp://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/osm/tambon.php?id=4701&fbclid=IwAR3-JItD1eHI5ORIxjy4g0sL7rHB2uawISeQbudbdVG5V-tHMEJWx1Xz6Fc
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2564). สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดสกลนคร. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=1891804884330235&set=a.184352461742161
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. (2563). ข้อแนะนำสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และทีมปฏิบัติการชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และการดูแลช่วยเหลือ ผู้ติดบุหรี่ สุรา และยาเสพติดในชุมชน. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=62
สิทธ์ชัย ชูจีน. (2554). แรงจูงใจในการทำหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 9(2), 75-90.
อติเทพ จินดา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3), 555-568.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Griffin, W., & Moorhead, G. (2013). Organizational Behavior: Managing People and Organizations. Boston: Cengage Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.