ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียน ระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนะคอนไช เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

KNOWLEDGE ON FOOD SANITATION AND PERSONAL HYGIENE PRACTICES OF SENIOR HIGH SCHOOL STUDENTS IN NAKHONXAY SCHOOL KHAMKEUT DISTRICT, BOLIKHAMXAY PROVINCE, LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC

ผู้แต่ง

  • maikham singhalath -
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร, การปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร การปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนะคอนไช เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในเดือนพฤษภาคม 2565 โดยสุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปีที่ 5 ถึง 7) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) จำนวน 274 คน โดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้ และคะแนนการปฏิบัติ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.3 มีระดับความรู้ในระดับต่ำ และร้อยละ 7.7 มีระดับความรู้ในระดับปานกลาง ส่วนคะแนนการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.5 มีระดับคะแนนการปฏิบัติในระดับปานกลาง และร้อยละ 24.5 มีระดับคะแนนการปฏิบัติในระดับดี ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารกับการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.133, p-value = 0.027)

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระดับความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนะคอนไช ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าที่ควร โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียน ให้มีระดับที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคอาหารต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2564). กรมควบคุมโรค เผยแพร่พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 7/2564 เตือนประชาชนช่วงนี้อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย ระวังป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ขอให้ยึดหลัก สุก ร้อน สะอาด. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php? news=17033&deptcode=brc

วาสนา พัวปัญญา, บุญถม เเพงดี & คำเส็ง พิลาวง. (2558). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อําเภอเมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 50-56.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย.

Daniel, W.W. (2009). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 9th ed. Hoboken, NJ: J. Wiley & Sons.

Temitayo, I.O. (2016). Knowledge and practices of personal hygiene among senior secondary school students of Ambassadors College, Ile-Ife, Nigeria. Texila International Journal of Public Health, 4(4), 648-660.

Yoshida, I., Horie, O., & Akkhavong, K. (2019). Predictors of hookworm and Opisthorchis viverrini infection among adolescents in urban Laos: A cross-sectional study. Research and Reports in Tropical Medicine, 10, 31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19