ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนเทคนิค จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นฤมล กิ่งแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของโปรแกรม, รถจักรยานยนต์, การป้องกันอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนเทคนิค จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเทคนิค สาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2564 โดยตรวจสอบความตรงของเนื้อหาได้ 0.66 และค่าความเชื่อมั่นของเนื้อหาได้ 0.87 กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมสุขศึกษาเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ประกอบด้วย ความรู้เรื่องกฎจราจร การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ โดยใช้สื่อสไลด์การสอน คลิปวีดีโอ มีการดำเนินกิจกรรมการให้โปรแกรมสุขศึกษาทั้งหมด 6 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติเชิงอนุมาน Paired Samples T-Test

ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องกฎจราจรในระดับปรับปรุงร้อยละ 20.0 ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องกฎจราจรและวินัยในการขับขี่เพิ่มขี้นในระดับดีมาก ร้อยละ 90.0 (p<0.001) หลังการทดลองการรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 100.0 (p=0.004) การรับรู้ความรุนแรงอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 100.0 (p=0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก  ร้อยละ 83.3 (p<0.001) การรับรู้อุปสรรคเพิ่มขึ้นในระดับดีมากร้อยละ 90.0 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การรับรู้ความสามารถแห่งตนเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก ร้อยละ 96.7 (p=0.024) และพฤติกรรมในการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 96.7 (p<0.008)

References

กระทรวงคมนาคม. (2562). วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุเชิงลึกบนโครงข่ายของกระทรวงคมนาคม ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562. กรุงเทพฯ:กระทรวงคมนาคม.

กานต์พิชชา หนูบุญ, & พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2558). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 1-9.

ฉัตรติมา คัมภีร์คุปต์. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมด้วยการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยในผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ซารีฟะห์ แจ๊ะแว. (2560). ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดาริกา บิลโส๊ะ. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลและการกำกับตนเองเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณรภา ตระกูลไพศาล. (2562). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในบุคลากรเทศบาล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาสิต ศิริเทศ, & ณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 58-65.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. (2563). ข้อมูลสถิติการใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ปี 2563.

ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563, จาก https://www.thairsc.com/

โศรดา เจริญศักดิ์. (2559). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลุ่ม CBR Club Chanthaburi. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริกร เค้าภูไทย. (2563). หยุดอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก ภารกิจพิชิตโศกนาฏกรรมยุคใหม่. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563, จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/media30_1.pdf

วรรวิษา ภูผิวแก้ว และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมขับขี่ปลอดภัยในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 24(1), 76-85.

อุบลรัตน์ วิเชียร และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉ.พิเศษ), 147-155.

Bandula, A. (1977). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Bloom, B. (1971). Mastery Learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs, 2(4), 328–335.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13