อุบัติการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตา ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
Keywords: accident, injuries, the blindบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บของผู้พิการทางสายตาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ซึ่งมี 4 ตอนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตา ในรอบ 6 เดือน (เดือนกันยายน 2563 – กุมภาพันธ์ 2564) ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และ ข้อมูลการอบรมของผู้พิการทางสายเกี่ยวกับการฝึกทักษะ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน 2564 จำนวนผู้พิการทางสายตาทั้งสิ้น 93 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ต่ำสูงสุด
ผลการศึกษา พบว่า อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตาในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 88.17 เป็น เพศชาย และ เพศหญิง ร้อยละ 34.15, 65.85 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้ผ่านการเรียนการฝึกทักษะ ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน มีราวจับเฉพาะในห้องน้ำ/ห้องส้วม และราวจับบันได ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุได้แก่ ถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง, หกล้ม/ลื่นล้ม, ไฟดูด/ไฟช็อต, ถูกหนีบ, ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย, ถูกของมีคมบาด, ถูกน้ำร้อน/ไฟลวก และวัตถุตกลงมากระแทก คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุ เท่ากับ 67.74, 55.91, 47.31, 35.48, 22.58, 17.20, 13.98 และ 3.23 ตามลำดับ โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ 3 อย่างแรก คือ อุบัติเหตุถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง มีสาเหตุหลักมาจากเดินชนกันกับเพื่อน/เพื่อนมาชน ร้อยละ 80.96 มักเกิดอุบัติเหตุในช่วงบ่าย, ช่วงเย็น ร้อยละ 17.46 เกิดอุบัติเหตุที่โรงอาหาร, หอนอน, โถงทางเดิน ร้อยละ 17.46 ลักษณะอาการบาดเจ็บจากการถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง ส่วนมากมีอาการศรีษะบวม ร้อยละ 3.17 และไม่ได้รับความบาดเจ็บ ร้อยละ 95.24 ส่วนอุบัติเหตุการหกล้ม/ลื่น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพื้นลื่น ร้อยละ 42.31 เกิดอุบัติเหตุในช่วงเย็น ร้อยละ 30.77 สถานที่เกิดอุบัติเหตุคือห้องน้ำ/ห้องอาบน้ำ ร้อยละ 25.00 ลักษณะอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม/ลื่น ส่วนใหญ่เกิดแผลถลอก ร้อยละ 61.54 และอุบัติเหตุที่ 3 เกี่ยวกับไฟดูด/ไฟช็อต ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากไฟดูดขณะชาร์จแบตโทรศัพท์ ร้อยละ 54.55 เกิดอุบัติเหตุในช่วงเย็น ร้อยละ 38.64 เกิดอุบัติเหตุที่ หอนอน ร้อยละ 75.00 การบาดเจ็บจากการถูกไฟดูด/ไฟช็อต ส่วนใหญ่มีอาการชา ร้อยละ 86.64
ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะทางเดินแบบสากลสำหรับคนตาบอดระหว่างที่พัก ห้องอาหาร ห้องเรียน ห้องน้ำ สนามเด็กเล่น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ อีกทั้งควรมีการจัดครูหรือเจ้าหน้าที่ที่คอยเฝ้าระวังดูแลช่วงเวลาการเล่น และมีการจัดนักเรียนเป็นแกนนำด้านการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องหรือเพื่อนดูแลเพื่อน
References
กนกพร ศรีวรมย์. (2561). ไขรหัสบนทางเท้า เบรลล์บลอก คืออะไร. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จาก https://thisable.me/content/ 2018/04/402
กนิษฐา จอดนอก. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35, 226-234.
จินตนา สุขทัต, นฤมล เอื้อมมณีกุล, อาภาพร เผ่าวัฒนา, & นพนันท์ นานคงแนบ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มในโรงเรียนของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาล, 67(3), 28-37.
จุฬาภรณ์ โสตะ. (2539). สวัสดิศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชลันดา ดุลการณ์, & ลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลนาบอน อำเภอำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 13(1), 60-70.
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2527). จิตวิทยาเด็กอปกติ เอกสารนิเทศศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ. หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
ยุวดี บาคาล. (2561). การประเมินความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุภายในโรงเรียน กรณีศึกษา : โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(2), 113-131.
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, & ขนิษฐา นันทบุตร. (2562). สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 164-172.
โรงเรียนศึกษาคนตาบอด. (2563). สถิติใช้บริการงานอนามัยของโรงเรียนศึกษาคนตาบอด 2562.
สติมา มาศผล. (2552). พฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บในโรงเรียนของนักเรียนชาย โรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จาก https://asa.or.th/wp-content/ uploads/2017/07/BAEDRFA.pdf
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2561.
ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563, จาก http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2014/ aesr2557/Part%201/injury/under15.pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บโดยสถานบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ:
อิโมชั่นอารต์.
Gordon J. E. (1949). The epidemiology of accidents. American Journal of Public Health and the Nation’s Health, 39(4), 504–515.
Sun, Y. H., Yu, I. T., Wong, T. W., Zhang, Y., Fan, Y. P., & Guo, S. Q. (2006). Unintentional injuries at school in China: Patterns and risk factors. Accident; Analysis and Prevention, 38(1), 208-214.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.