คุณภาพอากาศของจังหวัดขอนแก่นระหว่างปี 2561-2562 และข้อเสนอแนะ ในการเฝ้าระวัง
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมลพิษทางอากาศในบรรยากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ และเป็นปัญหาที่แพร่หลายและก่อให้เกิดปัญหาในเกือบทุกๆจังหวัดในประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่นเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เป็นเมืองแห่งการศึกษา มีประชากรเป็นจำนวนมากและการจราจรที่หนาแน่น รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกอ้อย ทำให้มีการเผาไหม้ในพื้นที่ ซึ่งจังหวัดขอนแก่นจึงให้ความสำคัญกับปัญหามลพิษทางอากาศ โดยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติที่ตั้งในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเพื่อเฝ้าระวังและเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศของจังหวัดขอนแก่น โดยได้มีการติดตามตรวจสอบสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญในบรรยากาศ จำนวน 6 ชนิดคือ 1) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) 2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 3) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 4)ก๊าซโอโซน (O3) 5) ฝุ่นขนาด ไม่เกิน10 ไมครอน(PM10) 6) ฝุ่นขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และวิเคราะห์ผลข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบของดัชนีคุณภาพอากาศ(Air Quality Index) ตามวิธีการขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา (US.EPA) ซึ่งได้อ้างอิงวิธีการจากเอกสารของ US.EPA เรื่อง Guideline for Reporting of Daily Air Quality Index (AQI) July 1999 จากข้อมูลคุณภาพอากาศจังหวัดขอนแก่น ผลของการวิเคราะห์ พบว่า ดัชนีคุณภาพอากาศในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 22.6 (7 วัน) เกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 77.4 (24 วัน) และ สารมลพิษทางอากาศที่เป็นตัวแทนของดัชนีคุณภาพอากาศส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ทั้งหมด ร้อยละ 87.1 (27 วัน) รองลงมาคือ ก๊าซโอโซน (O3) ทั้งหมด ร้อยละ 12.9 (4 วัน) ในปี 2561 นั้นดัชนีคุณภาพอากาศในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 32.6 (119 วัน) เกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 37.8 (138 วัน) เกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ร้อยละ 1.6 (6 วัน) และสารมลพิษทางอากาศที่เป็นตัวแทนของดัชนีคุณภาพอากาศส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ทั้งหมด ร้อยละ 36.7 (134 วัน) รองลงมาคือ ก๊าซโอโซน (O3) ทั้งหมด ร้อยละ 35.3 (129 วัน) ทั้งนี้จังหวัดขอนแก่นควรมีมาตรการควบคุมในการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรและควรมีการใช้กฎหมายควบคุมการระบายมลพิษจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/ aqi_info
ธนภูมิ ไลไธสง, และศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์. (2563). ผลกระทบระยะเฉียบพลันของ PM2.5 จากการเผาไหม้ชีวมวลต่อจํานวนการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลด้วยโรคหืด ที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1), 36-48.
สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดขอนแก่น. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Documents/pdf
เสริม จันทร์ฉาย, อิสระ มะศิริ, และตรีนุช จันทราช. (2553). การศึกษาผลของฝุ่นละอองในบรรยากาศต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/287048
องค์การอนามัยโลก. (2562). สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพเพื่อประชาชนมีสุขภาพดียิ่งขึ้น เหตุใดจึงสำคัญและเราสามารถทำอะไรได้บ้าง. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.who.int/docs/default-source/environment-climate-change-and-health/air-pollution-infographics-in-thai/ambient-air-pollution-
อรประภา ภุมมะกาญจนะ, และคิโยชิ ฮอนดะ. (2552). โครงการการตรวจติดตามคุณภาพอากาศแบบ Real-time ในสิ่งแวดล้อมเมืองโดยการใช้เครื่องตรวจวัดจากภาคพื้นดิน ชุดอุปกรณ์นาโนเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ชนิดทินออกไซด์ และภาพถ่ายดาวเทียมผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบอินเตอร์เน็ท. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://digital.library.tu.ac.th/ tu_dc/ digital/file_upload/biblio/digitalfile/digital/biblio/tudc_trf_or_th/image/13026.pdf
อินท์ฉัตร สุขเกษม. (2563). การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 27(1), 16-25.
Chelani, B. A. (2018). Estimating PM2.5 concentration from satellite derived aerosol optical depth and meteorological variables using a combination model. Atmospheric Pollution Research, 10(3), 847-857.
Guttikunda, S. (2008). A primer on air quality management. Retrieved November 17, 2020, from file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Documents/Primer_on_Air_Quality_Management.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.