การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • อิทธิพล ดวงจินดา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชวนพิศ ศิริไพบูลย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองในพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการปรับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีของแต่ละบุคคล

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 404 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถแห่งตนของแบนดูราและแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุดย่อฉบับภาษาไทย ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (S-CVI) เท่ากับ .952 และได้ค่าความเที่ยงตรงแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .957 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.56, S.D.=0.83) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.40, S.D.=0.66) และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 88.34, S.D.=18.11) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงมาก (r=0.904, p-value<0.01) และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r=0.456, p-value<0.01)

จากการวิจัยครั้งนี้ การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์
เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ควรส่งเสริมกิจกรรมโดยการนำทฤษฎีความสามารถของตนเองจากผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นตัวแบบ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ เกิดความมั่นใจที่จะปรับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้เองอย่างถูกต้องและมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลที่ดีต่อการมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุยิ่งขึ้น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2563, จาก http://covid19.anamai.moph.go.th/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019: ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินโควิด-19. ค้นเมื่อ

มีนาคม 2563 จาก http://www.moph.go.th

เขตสุขภาพที่ 5. (2563). ประชากรผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5 ปี 2563. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563, จาก https://apps.hpc.go.th/

จันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์, วัชรินทร์ ระฤกชาติ, & ณภัทร โพธิ์วัน. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตภาคกลางโดยใช้กิจกรรมนันทนาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันการพลศึกษา.

ทิพย์กมล อิสลาม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 28(1), 1-15.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, & ทักษิกา ชัชชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 21(2), 29-39.

นพนัฐ จําปาเทศ, ละเอียด แจ่มจันทร์, & พัชราภรณ์ ฝ่ายหมื่นไวย์. (2561). บทบาทพยาบาลในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 153-164.

นริสา วงศ์พนารักษ์, & สายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24-31.

ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, & อติญาณ์ ศรเกษตริน. (2562). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549-567.

พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณี ปานเทวัญ. (2560). ทฤษฎีความสามารถของตนเองกับการเลิกสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(3), 35-43.

พิกุลแก้ว ทองบุ, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, & สมศิริ นนทสวัสดิ์ศรี. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลเหล่าหลวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล, 68(4), 1-10.

ภาสิต ศิริเทศ, &ณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 58-65.

มินตรา สาระรักษ์, ฐิติรัช งานฉมัง, &นันทยา กระสวยทอง. (2563). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(3), 304-310.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล, &จริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

สุภา อัคจันทร์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, & ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจในการหยุดดื่มของผู้ติดสุราที่กลับไป

ดื่มซ้ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(1), 17-28.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, & วราณี พรมานะรังกุล. (2540). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563 จาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมปกรณ์, สุนีย์ ละกำปั่น, & ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2561). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

อิทธิพล ดวงจินดา, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, จันทร์จิรา อินจีน, และ ปารวีร์ มั่นฟัก. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถใน

การประกอบกิจวัตรประจำวันกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในบริบทพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 60-73.

Baloch, S., Baloch, M. A., Zheng, T., & Pei, X. (2020). The coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic. Tohoku Journal of Experimental Medicine, 250(4), 271-278.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Best, J. W. (1981). Research in education. (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Black, K. (2010). Business statistics for contemporary decision making (6th ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons

Chatterjee, P., Nagi, N., Agarwal, A., Das, B., Banerjee, S., Sarkar, S., et al. (2020). The 2019 novel coronavirus disease (COVID-19) pandemic: A review of the current evidence. Indian Journal of Medical Research, 151, 147-159.

Eliopoulos, C. (2018). Gerontological nursing (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nguyen, H., Manolova, G., Daskalopoulou, C., Vitoratou, S., Prince, M., & Prina, M. (2019). Prevalence of multimorbidity in community settings: a systematic review and meta-analysis of observational studies. Journal of Comorbidity, 9, 1-15.

Randolph, H. E., & Barreiro, L. B. (2020). Herd Immunity: Understanding COVID-19. Immunity, 52, 737-741.

Sheeran, P., Maki, A., Montanato, E., Avishai-Yitshak, A., Bryan, A., William, M. P., et al. (2016). The impact of changing attitudes, norms, and self-efficacy on health-related intentions and behavior: A meta-analysis. Health Psychology, 35(11), 1178-1188.

Touhy, T. A., & Jett, K. F. (2018). Ebersole and Hess' gerontological nursing & healthy aging. (5th ed.). St. Louis, MO: Elsevier/Mosby.

World Health Organization [WHO]. (2020). Pneumonia of unknown cause-China: disease outbreak news. Retrieved April 14, 2020 from https://www.who.int/csr/don/05-january-2020-pneumonia-of-unkown-cause-china/en/

WHOQOL Group. (1996). Annotated bibliography of the WHO quality of life assessment instrument – WHOQOL. Retrieved April 7, 2020 from http://depts.washington.edu/seaqol/docs/WHOQOL_Bibliography.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-11