การพัฒนาเครื่องมือชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ญาณิฐา แพงประโคน คณะสาธารณสุขศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 17 แห่ง โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 1 โรงเรียน คัดเลือกจากโรงเรียนที่มีนโยบายส่งเสริมในเรื่องความปลอดภัย และ ผู้บริหาร บุคลากร นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัยซึ่งจากการประเมินระดับความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 17 คน พบว่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( =4.37, S.D.=0.62) การพัฒนาเครื่องมือในการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงใช้เทคนิค Checklist ตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 ประกอบด้วย 11 หมวด ดังนี้ 1.ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน 2.การบริหารงานความปลอดภัยของโรงเรียน 3.ความปลอดภัยจากอาคารเรียนและอาคารประกอบ 4.ความปลอดภัยในบริเวณสถานศึกษา 5.ความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยในสถานศึกษา 6.ความปลอดภัยจากเครื่องมือ เครื่องใช้ในสถานศึกษา 7.ความปลอดภัยในการจราจรของสถานศึกษา 8.ความปลอดภัยในการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานศึกษา 9.ความปลอดภัยในการร่วมกิจกรรมของนักเรียน 10.อุบัติภัยในสถานศึกษา 11.ภัยสังคม ผลการชี้บ่งอันตราย พบว่าปัญหาใน 7 หมวด จำนวน 62 เรื่อง ได้แก่ หมวดที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ตามลำดับ ส่วนประเด็นดำเนินการสอดคล้อง จำนวน 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 9, 11 ผลการประเมินความเสี่ยง พบว่า 1) ระดับความเสี่ยงเล็กน้อย (ไม่ต้องดำเนินมาตรการแก้ไข) จำนวน 1 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.61 2) ระดับความเสี่ยงยอมรับได้ (ต้องมีการทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่เป็นระยะ) จำนวน 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 19.35 3) ระดับความเสี่ยงสูง (ต้องมีการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง) จำนวน 45 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 72.58  4) ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขทันที) จำนวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.45 ระดับความเสี่ยงตั้งแต่ ยอมรับได้, สูงและยอมรับไม่ได้  นำไปจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย 7 แผนเพื่อนำไปสู่การลดและควบคุมความเสี่ยงในโรงเรียน

การพัฒนาเครื่องมือชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในโรงเรียนได้จัดทำครอบคลุมทั้งกิจกรรมและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน ตามทฤษฎีของ H.W. Heinrich ซึ่งได้ศึกษา เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ Heinrich (1969) พบว่าสาเหตุหลักเกิดจากการกระทำไม่ปลอดภัย และสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ซึ่งหากนำไปใช้สามารถช่วยป้องกันและลดโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียนได้ ดังนั้นจึงควรขยายผลนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อช่วยลดสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในโรงเรียนได้ในวงกว้างและต่อยอดพัฒนาเป็นมาตรฐานการตรวจความปลอดภัยและคู่มือความปลอดภัยของโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) ต่อไป

Author Biography

ญาณิฐา แพงประโคน, คณะสาธารณสุขศาสตร์

ประวัติผู้วิจัย  

ชื่อภาษาไทย              นางสาวญาณิฐา แพงประโคน

ชื่อภาษาอังกฤษ          Miss Yanitha Paengprakhon  

ตำแหน่งปัจจุบัน          อาจารย์สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

ที่ทำงาน                   คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เบอร์มือถือ                086-572-9842

อีเมล                       [email protected]

 

ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม

ระดับ

ชื่อปริญญา (สาขาวิชา)

ชื่อสถาบัน,ประเทศ

ปี พ.ศ. ที่จบ

 

ปริญญาตรี

(สาธารณสุขศาสตร์)อาชีวอนามัยและความปลอดภัย(วท.บ.)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2546

 

บริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) (บธ.บ.)

มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช

2549

 

ปริญญาโท

วิศวกรรมความปลอดภัย (วศ.ม.)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2558

 

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักสูตรการป้องกันอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

2547

 

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 2

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

2549

 

Certificate

Environmental Aspect Identification and Assessment

ศูนย์เพิ่มผลผลิตและมาตรฐานโรงงานไทย

2550

 

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักสูตรการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายตามคู่มือของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

บริษัท คิด เพื่อความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม จำกัด

2551

 

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักสูตรการกำหนดตัวชี้วัดในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

 

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

2551

 

ระดับ

ชื่อปริญญา (สาขาวิชา)

ชื่อสถาบัน, ประเทศ

ปี พ.ศ. ที่จบ

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักสูตรการพัฒนาระบบการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก.18001:2552)  เพื่อความปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและ

บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด

2553

Certificate

The Internal Audit of  Energy Management System Course.

Mahidol University

2554

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ (ตามกฎหมาย)

บริษัท คิด เพื่อความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม จำกัด

2554

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

เทคนิคบริหารผู้รับเหมาเพื่อทำงานให้เราอย่างปลอดภัย

บริษัท คิด เพื่อความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม จำกัด

2554

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

มาตรการป้องกันอันตรายจากฝุ่นระเบิดและร่างกฎหมาย

บริษัท คิด เพื่อความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม จำกัด

2554

วิทยฐานะอื่นๆ

ประกาศนียบัตร

การประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์

การทำงานด้วยวิธีการ ROSA, OWAS, REBA และ OCRA

บริษัท คิด เพื่อความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม จำกัด

2556

Certificate

In-Machine

Asia Pacific Safety Training Center

2558

Certificate

Machine Safety Standard and  Risk Assessment

Asia Pacific Safety Training Center

2558

 

สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ

วิศวกรรมความปลอดภัย, อัคคีภัย, กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย, การประเมินความเสี่ยง,

การยศาสตร์, ความปลอดภัยเกี่ยวกับรังสี, ความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี, ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร และระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยแลความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ประวัติการทำงาน

-พ.ศ. 2546      เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพและเจ้าหน้าที่พัฒนาระบบ   บริษัทแอพพาเรล แอฟวินิว จำกัด

-พ.ศ. 2548      เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ

-พ.ศ. 2549      ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม  บริษัทสยามเอ็นพีอาร์ จำกัด

-พ.ศ. 2559      อาจารย์ประจำสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย    มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา

-พ.ศ. 2559      อาจารย์ประจำสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย    มหาวิทยาลัยราชวงษ์ชวลิตกุล

-พ.ศ. 2561 -ปัจจุบัน    อาจารย์ประจำสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 

ผลงานการตีพิมพ์งานวิจัย

งานวิจัย

จิตรา ตันเจริญ, อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม, และญาณิฐา แพงประโคน. (2561). ความชุกของภาวะเสี่ยง  โรคเบาหวานในนักเรียนชั้นประถมศึกษาเขตสุขภาพที่ 10.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ        อุบลราชธานี, 7(2).18-25.

ญาณิฐา แพงประโคน, ก่อโชค จันทวรางกูร และคณ“ระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังน้ำท่วม:กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี”. วารสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมความปลอดภัยแห่งชาติ ครั้งที่ 6. หน้า 46-54.

เพิ่มเติม

เขียนบทความทางวิชาการ   1    เรื่อง

1.1 ชื่อเรื่อง ระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังน้ำท่วม:กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี นำเสนอในการประชุมวิชาการวิศวกรรมความปลอดภัยแห่งชาติ ครั้งที่ 6  ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2558

ภาระงานสอน

ระดับปริญญาตรี

  1. วิศวกรรมความปลอดภัย
  2. กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  3. การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  4. การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
  5. ระบบมาตรฐานต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
  6. ความปลอดภัยเกี่ยวกับรังสี
  7. สหกิจศึกษาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  8. กระบวนการผลิตและอันตราย
  9. เทคโนโลยีความปลอดภัย
  10. อุบัติภัยศึกษา
  11. หลักความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2550, 16 สิงหาคม). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่องเสียงรบกวน.

ราชกิจจานุเบกษา, 124(98ง), 23.

กรมควบคุมมลพิษ. (2553, 17 ตุลาคม). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา, 127(ตอนพิเศษ 37ง), 63.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัยในประเทศไทย. (2559). คู่มือสถานศึกษาและครู ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: องค์กรช่วยเหลือเด็ก.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2544, 20 มิถุนายน). ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543. ราชกิจานุเบกษา, 118(ตอนพิเศษ 58ง), 28.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2562). คู่มือการให้คะแนนตรวจประเมิน (สำหรับเจ้าหน้าที่) กิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

กระทรวงมหาดไทย. (2537, 13 มิถุนายน). กฏกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522.

ราชกิจจานุเบกษา, 111(ตอน 23ก), 37-43.

กระทรวงมหาดไทย. (2551, 20 พฤษภาคม). กฏกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา, 125(ตอน 69ก), 1-3.

กระทรวงแรงงาน. (2556, 9 มกราคม). กฏกระทรวงเรื่องการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย พ.ศ. 2555. ราชกิจจานุเบกษา, 130(ตอนพิเศษ 2ก), 24-34.

กระทรวงแรงงาน. (2559, 17 ตุลาคม). ประกาศกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา, 133(ตอน 91ก), 48-54.

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2548, 29 มีนาคม). กฏกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548.

ราชกิจจานุเบกษา, 122(ตอน 29ก), 14-18.

กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). Education Management Information System: EMIS.

ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf

ณัชนันท์ ชีวานนท์. (2559). อุบัติเหตุในเด็ก:สถานการณ์ และแนวทางการป้องกัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 1-12.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย. (2559). สถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็กปี 2559. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (2561). มาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก.

ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.ilo.org/global/about-the-ilo/multimedia/video/institutional-videos/ WCMS_756336/lang--en/index.htm

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวปฏิบัติและมาตการรักษรความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556 (เล่มที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร สถานที่จำหน่วยอาหารตามบัญญัติ กฏกระทวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่าย พ.ศ.2561 (ออกตามความในพระราชบัญญัตการสาธารณสุข พ.ศ.2535). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .

Heinrich, H. W. (1969). Industrial accident prevention: A scientific approach (4th ed.). New York: McGraw-Hil.

Toner, E., & Scott, I. (2008). Child injuries in context. In M. Peden, K. Oyegbite, J. Ozanne-Smith, A. A. Hyder, C. Branche,

A. F. Rahman, et al. (Eds.). World report on child injury prevention. (pp. 1-22). Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ