ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ปนัดดา งามเปรี่ยม สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุรัตนา เหล่าไชย สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประภากร ศรีสว่าวงศ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความรอบรู้ทางสุขภาพ, โรคโควิด-19, การปฏิบัติในการป้องกันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ จำนวน 262 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 93.82 (S.D.=10.54) การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า อยู่ในระดับเป็นประจำ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.57 (S.D.=0.23) และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ การโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ด้านการตัดสินใจด้านสุขภาพ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง และการบอกต่อข้อมูลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีนโยบายและแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักและเฝ้าระวังการป้องกันโรคโควิด-19  รวมถึงผู้สูงอายุควรมีความรู้ความเข้าใจ และได้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นประจำ เพื่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิติของข้อมูลผู้สูงอายุจังหวัดมหาสารคาม. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no295-241063.pdf

แจ่มจันทร์ วรรณปะแก, & ธนิดา ผาติเสนะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1),176-185.

ณิชรัตน์ นฤมลต์, & ยุวยงค์ จันทรวิจิตร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 11(1), 108-129

ธานี กล่อมใจ. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชน เรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

นฤมล ใจดี และคณะ. (2560). ความฉลาดด้านสุขภาพของผู้สูงอายุใน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 20 ธันวาคม 2562. (หน้า 1312-1323). กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

ประไพพิศ สิงห์เสม, พอเพ็ญ ไกรนรา, & วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง เนื่องจากระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับ

ไม่ดี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 37-51.

ปริยานุช ตั้งนรกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563, จาก https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general- articles/%E0%B8%9B%E0%B8%

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N10-07-61.aspx

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2563). สถานการณ์โรคโควิด-19 ในจังหวัดมหาสารคาม. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/index.php/site/index

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2563, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

UNFPA Thailand. (2563). ผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์การระบาด COVID-19. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564, จาก https://thailand.unfpa.org/th/elderly-COVID19

World Health Organization. (2012). Health literacy the solid facts. Retrieved February 25, 2021 from https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0008/190655/e96854.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01