พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • อรรจมาภรณ์ สมบัติโชติสิน สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณิตชาธร ภาโนมัย สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย จำนวน 240 คน วิเคราะห์หาข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา  หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด  และสถิติอนุมานใช้ Chi-square, Crude OR, 95% CI of OR กับ Multiple Logistic Regression  หาค่า Adjusted OR, 95% CI of OR

ผลการวิเคราะห์พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานในภาพรวม
ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี (2.34-3.00) ร้อยละ 45.83 รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (1.67-2.33) ร้อยละ 35.83 และระดับควรปรับปรุง (1.00-1.66) ร้อยละ 18.33 ตามลำดับ เมื่อประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (รสหวาน มัน เค็ม) แยกเป็นรายด้าน พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มี พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม อยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 82.08 ร้อยละ 93.75 และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ด้านปัจจัยนำ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เป็น 1.27 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองระดับสูง (ORadj=1.58; 95%CI=1.48-2.85, p-value=0.025) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การมีอาหารเพียงพอ, การเข้าถึงอาหาร และการใช้ประโยชน์จากอาหารในระดับต่ำ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เป็น 2.24 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับสูงระดับปานกลาง (ORadj=2.24; 95% CI=1.29-3.88,
p-value=0.004) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

  

References

เจษฎา พลโยธา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย. (2563). โรคหลอดเลือดสมองตีบในผู้ป่วยเบาหวาน. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/article/577607

โรงพยาบาลผาขาว. (2562) ระเบียนประวัติผู้ป่วย. เลย: โรงพยาบาลผาขาว.

ละม่อม มาศรี. (2554). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการเสริมพลังอำนาจ ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชุดา ชัยชนะ. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลบ้างฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศกุณตฬา จันทร์นวล. (2560). การรับรู้และพฤติกรรมการีดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุภาพแห่งชาติ (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2562, จาก http://www.dmthai.org/…/cpg/443-guideline-diabetes-care-2017

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. (2562). รายงานการตรวจราชการจังหวัดเลย. เลย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย.

Spence, J. D. (2017). Nutrition and risk of stroke. Nutrients, 11, 647.

World Health Organization [WHO]. (2012). Effect of reduced sodium intake on cardiovascular disease, coronary heart disease and stroke. Retrieved October 5, 2019, form https://apps.who.int/iris/handle/10665/79322

World Health Organization [WHO]. (2016). Salt reduction. Retrieved October 1, 2019, form https://www.who.int/ en/news-room /fact-sheets/detail/salt-reduction/

https://www. dailynews.co.th/article/577607

ละม่อม มาศรี. (2554). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการเสริมพลังอำนาจ ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชุดา ชัยชนะ. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลบ้างฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาพิเศษด้านสาธารณสุข. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศกุณตฬา จันทร์นวล. (2560). การรับรู้และพฤติกรรมการีดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Spence, J.D. (2017). Nutrition and Risk of Stroke. Nutrients, 11, 647.

World Health Organization. (2012). Effect of reduced sodium intake on cardiovascular disease, coronary heart disease and stroke. Retrieved October 5, 2019, form https://apps.who.int/iris/handle/ 10665/79322

World Health Organization. (2016). Salt reduction. Retrieved October 1, 2019, form https://www.who.int/ en/news-room /fact-sheets/detail/salt-reduction/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-03