ระบบงานทันตสาธารณสุขภายหลังการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาสถานีอนามัยสันนาเม็ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
คำสำคัญ:
การถ่ายโอนอำนาจสาธารณสุข, ระบบงานทันตสาธารณสุข, สถานีอนามัยบทคัดย่อ
รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบริการทันตสาธารณสุข ผลการดำเนินงานและปัจจัยความสำเร็จของสถานีอนามัยสันนาเม็ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ภายหลังการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปอยู่ภายใต้องค์กรปกครองท้องถิ่น วิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนสถานีอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการถ่ายโอนองค์กรและภารกิจ การจัดบริการสุขภาพโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น เทศบาลตำบลสันนาเม็งได้สนับสนุนงบประมาณต่อเติมอาคารสถานีอนามัย จัดหาบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มเติม โดยมีแพทย์จิตอาสาที่เกษียณอายุราชการแล้วมาตรวจประจำที่สถานีอนามัย พัฒนาศูนย์ช่วยเหลือประชาชน 24 ชั่วโมงพร้อมรถพยาบาลไว้รับส่งผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานเชิงรุกเข้าถึงชาวบ้านและชุมชนได้เต็มที่ ด้านบริการทันตสาธารณสุข เทศบาลได้จัดหายูนิตทันตกรรมเครื่องมือและวัสดุทันตกรรม มีเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 2 คนอยู่ประจำสถานีอนามัย ทำหน้าที่ให้บริการงานทันตกรรมทั่วไป และงานส่งเสริมป้องกันตามกลุ่มวัยต่างๆ โดยมีทันตแพทย์ประจำโรงพยาบาลสันทรายให้คำปรึกษา ออกให้บริการที่สถานีอนามัย และ พัฒนาด้านวิชาการ แผนงานโครงการ รวมถึงระบบวัสดุทางทันตกรรม ทั้งนี้สถานีอนามัยสามารถดำเนินโครงการตามประเด็นการตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุข (ตัวชี้วัด) และตามปัญหาของชุมชน ข้อมูลจากปี 2557 ถึงปี 2562 พบว่า แนวโน้มการเข้าถึงบริการทันตกรรมดีขึ้น มีจำนวนครั้งในการรับบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 133.3 จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น มาจากการบริหารจัดการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบการสนับสนุนที่ดีจากโรงพยาบาลอำเภอที่เป็นแม่ข่าย และการมองเห็นประโยชน์ว่าบริการทันตสาธารณสุขมีส่วนช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โดยมีสุขภาพของประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
References
คณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย. (2553). คู่มือการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559), รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาวุฒิสภา.
คณะทำงานพัฒนาโปรแกรมคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ความเป็นมาของระบบคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center: HDC. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบ Health Data Center (HDC on Cloud) ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข(สำหรับผู้ดูแลระบบ), 27-29 กรกฎาคม 2559, Data Center อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข;
จรวยพร ศรีศศลักษณ์, จเร วิชาไทย, & รำไพ แก้ววิเชียร. (2552). ประสบการณ์ด้านการกระจายอำนาจด้านบริการสาธารณสุขในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2(1), 16.
จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2560). สรุปบทเรียนการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: เอกสารนำเสนอในการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข (WM) ครั้งที่ 36 ปี 2560 วันที่ 18 ตุลาคม 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา).
เทศบาลตำบลสันนาเม็ง. (2561). ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลตำบลสันนาเม็ง.ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561. ค้นจาก https://www.sannameng.go.th/information.html
ลือชัย ศรีเงินยวง. (2555). ผลการศึกษาเบื้องต้นการประเมินผลท้องถิ่นกับการพัฒนาระบบสุขภาพในบริบทการกระจายอำนาจ: การสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย. เอกสารประกอบการประชุมสรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555, โรงแรมริชมอนด์, นนทบุรี.
วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. (2552). ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนบุคลากรสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สงกรานต์ บุญมา, & ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). การบริหารจัดการสถานีอนามัยบ้านสันนาเม็งหลัง ถ่ายโอนภารกิจจากสาธารณสุข: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/56/grc14/files/hmp36.pdf
สมยศ แสงมะโน, สุพรชัย ศิริโวหาร, & กัลทิมา พิชัย. (2557). ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 5(2), 25-35.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.