ความรู้ทางด้านชีวสถิติของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัตนากร ยิงลำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประภัสรา ศิริกาญจน์
  • ศิริพร คำสะอาด

คำสำคัญ:

ความรู้, ชีวสถิติ, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ชีวสถิติถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข การศึกษานี้จึงต้องการสำรวจความรู้ทางด้านชีวสถิติของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยสุ่มตัวอย่าง จำนวน 703 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มขั้นตอนเดียว ให้ตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเพื่อวัดความรู้ทางด้านชีวสถิติ จำนวน 25 ข้อ แบ่งเป็น สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การทดสอบไคกำลังสอง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการคำนวณขนาดตัวอย่าง อย่างละ 5 ข้อ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาค่ามัธยฐาน ความรู้แบบรวมทุกข้อและแต่ละวิธีการทางสถิติ

ผลการศึกษา พบตัวอย่างบุคลากรที่ตอบกลับแบบสอบถาม จำนวน 543 คน จากคะแนนความรู้เต็ม 25 คะแนน ค่ามัธยฐานของคะแนนความรู้ทางด้านชีวสถิติในภาพรวม 5.0 คะแนน (95% CI อยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 5.5 คะแนน) สถิติเชิงพรรณนา 2.0 คะแนน การทดสอบที 1.0 คะแนน การทดสอบไคกำลังสอง 0.0 คะแนน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 0.0 คะแนน และ การคำนวณขนาดตัวอย่าง 0.0 คะแนน

สรุป บุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นมีความรู้ทางด้านชีวสถิติในระดับน้อย บุคลากรจึงควรได้รับการส่งเสริมความรู้ทางด้านชีวสถิติ

 

 

 

References

จิราพร เขียวอยู่. (2557). วิธีสถิติสำหรับการวัดด้านสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). สถิติสำหรับผู้ไม่ใช่นักสถิติ: รู้จัก เข้าใจ ใช้เป็น สำหรับบุคคลภายนอก. ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561, จาก https://stat.cbs.chula.ac.th

ถนอมศรี คำทองดี. (2542). ความไม่เหมาะสมของการใช้สถิติในบทความวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันทนา สุขมา, & กัลยาณี จันธิมา. (2548). การประเมินความไม่เหมาะสมของการใช้สถิติในงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาวิจัยประจำปี 2548 สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา, 198-209.

นิศาชล รัตนมณี, & ประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181–188.

ประเสริฐ เรือนนะการ. (2560). แนวทางการใช้วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยของนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารปาริชาติ, 30(2), 75–140.

พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม. (2545). พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561, จาก https://library2.parliament.go.th/library/content_law/27.pdf

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟ เคอร์มิสท์.

ภิรมย์ กมลรัตน์กุล. (2543). หลักการทำวิจัยให้สำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). โครงการอบรมพัฒนาทักษะการเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://app.gs.kku.ac.th/training/#.

ยุพา ถาวรพิทักษ์. (2554). ประชากรและตัวอย่าง วิธีการชักตัวอย่างและการประมาณค่า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง. ค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.ocsc.go.th/job/standard-position

สำนักงานสาธารณสุขขอนแก่น. (2561). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสาธารณสุขที่สำคัญ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขขอนแก่น. (2562). การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยจังหวัดขอนแก่น. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://kkpho.moph.go.th/i/?option=com_content&view=article&id=4843

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2562, จาก http://gishealth.moph.go.th/hisomap/gmap.php

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

CASP. (2018). Critical appraisal skills programme. Retrieved December 18, 2018, from https://casp-uk.net/team/

Hoy, D., Brooks, P., Woolf, A., Blyth, F., March, L., Bain, C., et al. (2012). Assessing risk of bias in prevalence studies: Modification of an existing tool and evidence of interrater agreement. Journal of Clinical Epidemiology, 65(9), 934–939.

Laopaiboon, M., Lumbiganon, P., & Walter, S. D. (1997). Doctors’ statistical literacy: a survey at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Journal of the Medical Association of Thailand, 80(2), 130-137.

Stata Corp. (2013). Stata Survey Data Reference Manual: Release 13. College Station, TX: StataCorp LP.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-09