ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ดลนภา สุขประดิษฐ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-Control Study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง 254 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 127 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ หญิงตั้งครรภ์
ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ในช่วง 14 เมษายน พ.ศ.2563-15 พฤษภาคม พ.ศ.2563 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multivariate Logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์(ORadj=2.29, 95% CI: 1.08-4.85) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (ORadj=0.27, 95% CI: 0.09-0.85) การรับรู้ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (ORadj=2.67, 95% CI:1.48-4.83) การรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน (ORadj=4.53, 95% CI: 2.45-8.36)

จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนนั้นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับ ควรมีบทบาทในการให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติที่ใกล้ชิด เพื่อเน้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงในการเกิดโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม  เพื่อทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ครอบคลุมทุกคนต่อไป

Author Biography

เลิศชัย เจริญธัญรักษ์, สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์  สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

คลังข้อมูลสุขภาพ. (2562). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2562. จาก https://ubn.hdc.moph.go.th/ hdc/main/index.php

ทีรนุช ลี้วงศ์ตระกูล, ญดา คุณผลิน, ธรรมสินธ์ อิงวิยะ, & สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา. (2560). การยอมรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจในคลินิกฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. Thai Journal of Obstetrics and Gynaeclogy, 25(2)., 75-82.

ธวัช บุญนวม, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, & ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. (2561). การยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(2), 127-136.

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. (2562). วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 6-35 เดือน. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562, จาก https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=pOmR!8!4!!417!KvBmT8y4

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ชวนคนไทย 7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 มิ.ย.-31 ส.ค.นี้ เตรียม 4 ล้านโด๊ส. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. จาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjUxMw==

สำนักระบาดวิทยา. (2554). โรคไข้หวัดใหญ่. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562,จาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Influenza.htm

Barrett, T., McEntee, E., Drew, R., O’Reilly, F., O’Carroll, A., O’Shea, A., et al. (2018). Influenza vaccination in pregnancy: vaccine uptake, maternal and healthcare providers’ knowledge and attitudes. A quantitative study. BJGP Open, 2(3), bjgpopen18X101599.

Becker, M. H., Drachman, R. H., & Kirscht, J. P. (1974). A new approach to explaining sick-role behavior in low income population. American Journal of Public Health, 64(3), 206.

WHO. (2019). Pregnant Women & Influenza (Flu). Retrieved October, 19, 2019, from https: //www.cdc.gov/flu/ high risk/pregnant.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25