ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ อาจแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สูญเสียการได้ยิน, สมรรถภาพการได้ยิน, แผนผังเส้นเสียง, การสัมผัสเสียง

บทคัดย่อ

การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาทางสุขภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีการใช้เครื่องจักรในการผลิตมากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง   คือ พนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น จำนวน 153 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจวัดเสียงเพื่อประเมินการสัมผัสเสียงและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินโดยใช้สถิติวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอจิสติก นำเสนอค่า ORadj ที่ระดับช่วงเชื่อมั่น 95% และ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05  ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความผิดปกติของการได้ยินที่หูทั้งสองข้าง ร้อยละ 56.96 และหูข้างใดข้างหนึ่งร้อยละ 43.0 เป็นการได้ยินที่ช่วงความถี่สูงร้อยละ 70.88 และอายุของพนักงานที่สูญเสียการได้ยินสูงสุดคือ ช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี สูญเสียการได้ยินสูงสุดร้อยละ 34.18 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเคยทำงานสัมผัสเสียงดัง (ORadj=2.24; 95%CI=1.25-5.58) แผนกที่ทำงานในปัจจุบัน ได้แก่ แผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุง แผนกสร้างเครื่อง-แม่พิมพ์ แผนก Tank แผนก Pipe assy แผนกโรงล้างและแผนก Pump (ORadj=5.33; 95%CI= 2.47-11.45) ดังนั้น องค์กรจึงควรกำหนดนโยบายเพื่อการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการติดตามผลตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินประจำปีทั้งในกรณีการเข้างานใหม่และการย้ายแผนกไปทำงานในแผนกที่มีเสียงดัง เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงาน

 

Author Biographies

กนกวรรณ อาจแก้ว, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางสาวกนกวรรณ  อาจแก้ว

สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุนิสา ชายเกลี้ยง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

จิราพร ประกายรุ้งทอง & สุวัฒนา เกิดม่วง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานในกลุ่มคนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 98-108.

ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, วิทยา พิเชฐวีรชัย, ศิรินทิพย์ ชาญด้วยวิทย์, วนิดา อิณชิต, & วันทนี หวานระรื่น. (2561). การเกิดร่องและขนาดของร่องที่พบได้จากการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำปีของพนักงานจากสถานประกอบการ 9 แห่งในจังหวัดระยอง ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข. 48(1), 33-43.

พิรวรรณ ไชยวงศ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(3), 88-98.

รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์, วันดี ไข่มุก, & ฐิติวร ชูสง. (2558). การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานโม่หินแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 8(27), 13-23.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2560 (มกราคม-มิถุนายน). ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561. จาก http://www.industry.go.th/chachoengsao/index.php/doc01/ 2018-03-13-06-50-48/22244-2018-03-13-06-58

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2560). แนวทางการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยินและการแปลผล (ฉบับปรับปรุงปี 2560). ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2561. จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/upload/Samutprakarn/hearing chep4_baseline%202Jan2017.pdf

เสาวภา ห้วยจันทร์, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็ก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 89-90.

อริสรา ฤทธิ์งาม, & เจนจิรา เจริญการไกร. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 118–131.

อริสรา ฤทธิ์งาม. (2561). การป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง: บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(2), 223-238.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัถสิทธ์ รัตนารักษ์, เนสินี ไชยเอีย, จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์, จินต์จุฑา วิริยะนันทวงศ์, & ภาณุมาศ ไกรสร. (2562). ความชุกของพนักงานที่สวมถุงนิ้วยางธรรมชาติที่พบเป็นโรคผื่นระคายสัมผัสในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(5), 468-474.

อัถสิทธ์ รัตนารักษ์, มนัสวร อินทรพินทุวัฒน์, กัมปนาท วังแสน, & พรพรรณ สกุลคู. (2560). สถานการณ์การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในการประกอบอาชีพของประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 1-10.

Chen, Y., Zhang, M., Qui, W., Sun, X., Wang, X., Dong, Y., & et al. (2019). Prevalence and determinants of noise‐induced hearing loss among workers in the automotive industry in China: A pilot study. Journal of Occupational Health, 61(1), 387-97.

Israel, P., Alexander, M., Bente, E., & Magna B. (2019). Prevalence of noise-induced hearing loss among Tanzanian iron and steel workers: A cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(8), 1367.

Watchalayann, P., & Laokiat, L. (2019). Assessment of hearing loss among workers in a power plant in Thailand. Applied Environmental Research, 41(1), 38-45.

World Health Organization. (2018). Guidelines for community noise-table of contents. Retrieved August 16, 2018, from http://www.who.int/docstore/peh/noise/guidelines2.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-23