ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • นริศรา นพคุณ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี
  • สุรพงษ์ ชูเดช สายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม, อนามัยสิ่งแวดล้อม, GREEN & CLEAN Hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเพชรบุรีจาก 8 โรงพยาบาล จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความรู้ในการดำเนินงาน ความตระหนักในการดำเนินงาน การสนับสนุนทางสังคมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การบริหารจัดการในการดำเนินงานและแรงจูงใจในการดำเนินงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) 

ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคมในการดำเนินงาน การบริหารจัดการในการดำเนินงานและแรงจูงใจในการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง(ค่า r อยู่ระหว่าง .41-.60)    ส่วนปัจจัยด้านความรู้ในการดำเนินงานและความตระหนักในการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ(ค่า r ต่ำกว่า .20) ตัวแปรอิสระที่สามารถทำนายการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มี 4 ตัวได้แก่ การบริหารจัดการในการดำเนินงาน แรงจูงใจในการดำเนินงาน การสนับสนุนทางสังคมในการดำเนินงานและความรู้ในการดำเนินงานร่วมกันสามารถทำนายการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 45.9 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของบุคลากรขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ดังนั้น ผู้บริหารควรใช้หลักการบริหารจัดการมาใช้ในการพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม สร้างหัวหน้างานที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลากรในโรงพยาบาลในการขับเคลื่อนงาน รวมถึงเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาล เพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

 

 

 

Author Biography

นริศรา นพคุณ , สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี

นักศึกษามหาบัณฑิตหลักสูตรสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการ สุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ธวัช สิทธิกิจโยธิน. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน: ศึกษากรณี ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2546). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นดิ้ง.

อนุรัตน์ ไชยนุราช และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมการดำเนินงานสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 75-90.

Aini, M. S., Nurizan, Y., & Fakhru, R. A. (2007) Environmental comprehension and participation of Malaysian secondary school students. Environmental Education Research, 13(1), 17-31,

Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), 300-314.

Dan, J. G., Margaret, S., & Sally, S. D. (2011) Environmental resources moderate the relationship between social support and school sports participation among adolescents: a cross-sectional analysis. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 8(34), 49-61.

Hege, E. T., Anette, C. I., & Bente, W. (2009) The Norwegian network of health promoting schools: A three-year follow-up study of teacher motivation, participation and perceived outcomes. Scandinavian Journal of Educational Research, 53(1), 89-102.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1967) The motivation to work (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Massachusettes: Addison-Wesley Publishing.

Margaret, N. B. (2007). The influence of the quality and quantity of social support in the promotion of community participation following stroke. Australian Occupational Therapy Journal, 54(3), 215-220.

Sandhaus, S. A. (2017). Evaluating the Motivations, Knowledge, and Efficacy of Participants in Environmental Health Citizen Science Projects. Retrieved September 4, 2020, from https://repository.arizona.edu/ handle/10150/625311

Tikka, P. M., Kuitunen, M. T., & Tynys, S. M. (2000). Effects of educational background on students’ attitudes, activity levels, and knowledge concerning the environment. The Journal of Environmental Education, 31(3), 12-19.

Yamane, T. Z. (1973). Statistic: An introductory analysis. New York: Harper& Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-10