ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อมรรัตน์ สิงห์นารายณ์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปีวรากาจน์ ตันปาสิริพัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิญญา บุญแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นภิสรา สวยสมบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปนัดดา วิวัฒน์วิทยา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ ดัชนีมวลกาย เปอร์เซนต์ไขมัน นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน  ส่วนแรกคือ แบบสอบถามวัดความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่อการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนที่สอง คือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการ (น้ำหนัก ส่วนสูง และเปอร์เซนต์ไขมัน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติ Chi-square ร่วมกับ Odds ratio(OR) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาภาวะโภชนาการโดยใช้ค่าค่าดัชนีมวลกายร่วมกับเปอร์เซนต์ไขมัน นิสิตส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ (ร้อยละ 58.9) และนิสิตที่มีภาวะโภชนาการเกิน ((ร้อยละ 41.1) พบมากที่สุดในชั้นปีที่ 1 และ 4 ตามลำดับ จากการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการ คือ เพศ การไปซื้ออาหารที่ตลาดนัด และจำนวนมื้ออาหาร (p<0.05) โดยเพศชายมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการเกินเป็น 2.1 เท่าของเพศหญิง (OR=2.1, 95%CI 1.3-3.9) การซื้ออาหารที่ตลาดนัดมีเสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการเกินเป็น 1.7 เท่าของการซื้ออาหารจากแหล่งอื่น (OR=1.7, 95%CI 1.1-2.7)  และการรับประทานอาหารตั้งแต่ 3 มื้อขึ้นไปมีความความเสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการเกินเป็น 0.6 เท่าของการรับประทานอาหารน้อยกว่า 3 มื้อ (OR=0.6, 95%CI 0.4-0.9) การศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินอย่างมีนัยสำคัญมาศึกษาและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของนิสิตที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมในอนาคตต่อไป

References

ฉัตรณรงค์ พุฒทอง, ภูดิท เตชาวัฒน์, & ปัทมา สุพรรณกุล (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายกับคุณภาพชีวิต ของนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 9(2), 166-174.
ณัฐสุดา อุส่าห์เพียร, อุมาพร บูรณสุขสมบัติ, จารุรัฐ สุจริตจันทร์, อรวีร์ ศรีนวลนัด, เชาว์วัศ สกุลวรวิทย์, ปิยะสิทธิ์ ธรรมนิตยกุล และคณะ (2543). ภาวะโภชนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่พักอาศัยอยู่ในหอพักมหาวิทยาลัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(2).
ทักษพล ธรรมรังสี, สิรินทร์ยา พูลเกิด, & สุลัดดา พงษ์อุทธา. (2554). อ้วนทำไม ทำไมอ้วน: สถานการณ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประชากรไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 20(1), 126-144.
นทีกานต์ ธีระวัฒน์สกุล (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำรบริโภคอาหารมังสวิรัติในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิติยา เพ็ญศิรินภา. (2553). โภชนศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประหยัด สายวิเชียร. (2547). อาหาร วัฒนธรรม และสุขภาพ. เชียงใหม่: บริษัท นพบุรีการพิมพ์ จำกัด.
มัณฑินา จ่าภา (2557). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและ ภาวะโภชนาการของนักเรียนพยาบาลทหาร อากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(2), 144-157.
มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3).
มัลลิกา จันทร์ฝั้น (2557). รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ: การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพต่อโรคอ้วนของนิสิตสาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.
วรรณวิมล เมฆวิมล (2554). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ค้นจาก https://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/523/1/084-54.pdf
อนูกุล พลศิริ. (2551). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง, วารสารวิจัยรามคำแหง, 11(1).
อาภัสรา อัครพันธุ์ พรพล พิมพาพร ราตรี เรืองไทย และจักรพงษ์ ขาวถิ่น. (2555). การสำรวจดัชนีมวลกายและร้อยละของไขมันในร่างกายของนิสิตและบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. (หน้า 2422-2411). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน.
Canuto, R., da Silva Garcez, A., Kac, G., de Lira, P. I. C., & Olinto, M. T. A. (2017). Eating frequency and weight and body composition: a systematic review of observational studies. Public Health Nutrition, 20(12), 2079-2095.
Fisher, M., & Chilko, N. (2012). Gender and obesity. In: Sydney University Press.
Hall, K. D. (2018). Did the food environment cause the obesity epidemic? Obesity, 26(1), 11-13.
Kahleova, H., Lloren, J. I., Mashchak, A., Hill, M., & Fraser, G. E. (2017). Meal Frequency and Timing Are Associated with Changes in Body Mass Index in Adventist Health Study 2. The Journal of Nutrition, 147(9), 1722-1728.
Speechly, D. P., & Buffenstein, R. (1999). Greater appetite control associated with an increased frequency of eating in lean males. Appetite, 33(3), 285-297.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-13