ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายและการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง เทศบาลเมืองขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคข้อเข่าเสื่อม, การออกกำลังกาย, การพอกเข่าสมุนไพร, การรับรู้ตวามสามารถตนเองบทคัดย่อ
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ โรคข้อเข่าเสื่อมจะส่งผลทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก รวมทั้งการทำกิจวัตรประจำวันลำบาก เช่น การเดิน การยืน การนั่ง ฯลฯ อย่างไรก็ดี การดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้น ได้แก่ การใช้ยาบรรเทาการปวด การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การประคบสมุนไพร ฯลฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายและการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการที่คลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวงและคลินิกหมอครอบครัวประชาสโมสร เทศบาลเมืองขอนแก่น กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวงจำนวน 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ป่วยมาใช้บริการที่คลินิกหมอครอบครัวประชาสโมสร เทศบาลเมืองขอนแก่น จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการออกออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการพอกเข่าสมุนไพรจากผู้วิจัย ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม การอภิปรายกลุ่มร่วมกับการฝึกปฏิบัติ แจกคู่มือการดูแลตนเองเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม แผ่นพับการออกกำลังกายด้วยยางยืดทั้งหมด 6 ท่า ร่วมกับการพอกเข่าสมุนไพร สูตรชานุรักษ์ 30 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีการกระตุ้นเตือนจากผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านและโทรศัพท์จากผู้วิจัย ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับสุขศึกษาตามปกติจากคลินิกหมอครอบครัวประชาสโมสร การดำเนินการของโปรแกรมใช้เวลา 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองห่างกัน 12 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test และภายในกลุ่มด้วยPaired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ ความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และมากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคะแนนระดับความเจ็บปวดจากการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าหลังการทดลองคะแนนระดับความเจ็บปวดกลุ่มทดลองลดลงกว่าการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายนี้ สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้
References
ชุตินันท์ ขันทะยศ, & กนกพร ปัญญาดี. (2560). ผลของถุงยาสมุนไพรประคบข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(4), 43-49.
ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์, ประสานศิลป์ คำโฮง, & วรพล แวงนอก. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 106-118.
ดวงกมล สีมันตะ. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการส่งเสริมพฤติกรรสุขภาพต่อการชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุตำบลกุดแห่อำเภอเลิงนกทาจังหวัดยโสธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(2), 41-48.
นริศรา อารีรักษ์, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, & นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2558). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อภาวะสุขภาพสมรรถภาพทางกายและความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 66-76.
นฤมล ลําเจริญ, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, & มุกดา หนุ่ยศรี. (2561). ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 107-116.
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, & กิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2561). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(1). 104-111.
ยุภาพร นาคกลิ้ง, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2555). ผลของการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 28(1), 1-11.
วรฉัตร คงเทียม, & รุจิรา ดวงสงค์. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ทออวน) ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 10(4). 77-86.
สำนักสถิติแห่งชาติ.(2558). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Bloom, B. S., Englehart, F., & Hill, K. (1956). The Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay.
Center for Diseases Control and Prevention [CDC]. (2019). Osteoarthritis. Retrieved August16, 2019, from https://www.cdc.gov/arthritis/
National Health Service UK [NHS]. (2019). Osteoarthritis. Retrieved August 16, 2019, from https://www.nhs.uk/ conditions/osteoarthritis/
Pereira, D., Ramos, E., & Branco, J. (2015). Osteoarthritis. Acta Médica Portuguesa, 28(1), 99-106.
World Health Organization [WHO]. (2018). Ageing and health. Retrieved August 16, 2019, from https://www.who.int/ en/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health