ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ในการป้องกันโรคอ้วนของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา นาเมือง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มข.
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, สื่อสังคมออนไลน์, การป้องกันโรคอ้วน, ภาวะน้ำหนักเกิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ในการป้องกันโรคอ้วนของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลองคือบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น และกลุ่มเปรียบเทียบคือบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กลุ่มละ 35 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ในการป้องกันโรคอ้วนได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อจากผู้วิจัย การอภิปรายกลุ่ม รวมถึงใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้ความรู้และกิจกรรมสื่อสารโต้ตอบผ่านเฟซบุ๊กกลุ่มปิด เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และประเมินโดยใช้แบบสอบถาม Pre-test, Post test ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับสุขศึกษารายบุคคลจากเจ้าหน้าที่ตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยภายในและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการเข้าถึง ความรู้ การสื่อสาร การตัดสินใจ การจัดการตนเอง และ การรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคอ้วน มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05). และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเปอร์เซ็นต์ไขมันรวมในร่างกายลดลงดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ฉบับปรับปรุงปี 2561. http://www.hed.go.th/linkhed/file/557

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, จันทิมา เขียวแก้ว, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, เนติยา แจ่มทิม, & วรนาถ พรหมศวร. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของผู้สูงอายุตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11, 12-21.

คณิตา จันทวาส, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, & สมสมัย รัตนากรีฑากุล .(2559). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัว ของบุคลากรสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 83-93.

จันทิมา เขียวแก้ว, ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, & พรเลิศ ชุมชัย. (2560). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 10(1), 43-45.

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2546). กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

นงลักษณ์ แก้วทอง, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, & ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ, 30(1), 45-56.

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย, สุพล ลิมวัฒนานนท์, & จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนา. (2561). ความแตกต่างของการใช้พลังงานจากกิจกรรมทางกายระหว่างคนเมือง/คนชนบทในประเทศไทย: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 27-41.

ประภัสสร งาแสงใส, ปดิรดา ศรสียน, & สุวรรณา ภัทรเบญจพล. (2557). กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9(ฉบับพิเศษ), 82-87.

เปรมยศ เปี่ยมนิธิกุล, อดุลย์ บัณฑุกุล, & สุธีร์ รัตนะมงคลกุล. (2556). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน กับการลาป่วยของคนงานโรงงาน ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 20(1), 21-28.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Varidian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 946-956.

ภาพพิมพ์ พรหมวงศ์ชาญชัย, & ขันติศิริสมบัติ อ่อนศิริ. (2560). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักเรียนหญิง อายุ 13 ปี โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ จังหวัดนครพนม. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 108-116

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04