ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ เสาะเห็ม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, การจัดการความเครียด, จิตวิทยาเชิงบวก

บทคัดย่อ

ผลกระทบจากความเครียดส่งผลร้ายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นอย่างมากซึ่งเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่พบบ่อยทั่วโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีความเครียดในระดับปานกลาง อายุ 25-59 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 42 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ สุนทรียสาธก การบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมดังกล่าวเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์สถิติข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired sample t-test และ independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05  

ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวความเครียด ด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจิต ด้านการรู้เท่าทันสื่อและความสามารถในการประเมินข่าวสารและบริการสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพจิตตนเอง ด้านการสื่อสารทำให้เกิดแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพจิตตนเอง ด้านการปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น ด้านการตัดสินใจในการเลือกปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการจัดการความเครียด)และการปฏิบัติในการจัดการความเครียดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความเครียดในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมนี้สามารถลดระดับความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้และอาจจะสามารถเผยแพร่ไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้

 

 

Author Biography

พรรณี บัญชรหัตถกิจ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือ อสม.ยุคใหม่. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://phc.moph.go.th/ www_hss/data_center/ifm_mod/nw/NewOSM-1.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2559). กรมสุขภาพจิต เผยปัญหาเครียดครองแชมป์ปรึกษาสายด่วน 1323 ในปี 60 แนะคนทำงานใช้ 10 วิธีลดปัญหา. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.prdmh.com

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ:

สามเจริญพาณิชย์.

เชษฐา แก้วพรม, โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธ์ , ลลนา ประทุม, & อรัญญา บุญธรรม. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกรณีศึกษาสองตำบลในพื้นที่อำเภอขลุง [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 81, 10-16.

ปัทมาว่าพัฒนวงศ์, & ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). ประชากรไทยในอนาคต. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm

พรพรรณ ศรีโสภา, & ธนวรรณ อาษารัฐ. (2560). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด. บูรพาเวชสาร, 4(2), 79-92.

เพ็ญนภา ภมร. (2553). ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ว่างงาน ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์. (2559). รายงานประจำปีงบประมาณ 2560-2561: เอกสารการประชุมวางแผนยุทธศาสตร์องค์กร ครั้งที่ 1. เลย: โครงการ.(เอกสารอัดสำเนา)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะอาด. (2561). รายงานการสำรวจความเครียดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2561.เลย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะอาด. (เอกสารอัดสำเนา)

วัฒนีย์ เย็นจิตร, พัชรินทร์ พลอยสิทธิ, โทน แห้วเพชรม & เอกชัย โภไคยศสวรรค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่าย กับผลการศึกษาของนักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3),

-486.

สำนักงานสถิติแห่งชาตb. (2560). รายงานประจำปี 2560. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/ DocLib9/5/yearbook2560.pdf

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, & พิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสาหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและ ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Bolier, L., Haverman, M., Westerhof, G. J., Riper, H., Smit, F., & Bohlmeijer, E. (2013). Positive psychology interventions: a meta-analysis of randomized controlled studies. BMC Public Health, 13(1), 119.

Butler, J., & Kern, M. L. (2016). The PERMA-Profiler: A brief multidimensional measure of flourishing. International Journal of Wellbeing, 6(3), 1–48.

Emmons, R. A., & McCullough, M. E. (Eds.). (2004). The psychology of gratitude. Series in affective science. Oxford: Oxford University Press.

Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. (2017). Siriraj psychiatry DSM-5 (3nd ed.). Bangkok: : Prayoonsanthai Publishing.

Jorm, A. F. (2012). Mental health literacy: Empowering the community to take action for better mental health. American Psychologist, 67(3), 231–243.

Kitchener, B. A., & Jorm, A. F. (2005). Mental health first aid training: review of evaluation studies [Electronic version]. Australian and New Zealand Journal of Psychiatry, 40, 6–8.

Lee, O. E., & Tokmic, F. (2019). Effectiveness of mental health first aid training for underserved Latinx and Asian American immigrant communities. Mental Health & Prevention, 13, 68–74.

Lianov, L. S., Fredrickson, B. L., Barron, C., Krishnaswami, J., & Wallace, A. (2019). Positive Psychology in Lifestyle Medicine and Health Care: Strategies for Implementation. American Journal of Lifestyle Medicine, 13(5), 480–486.

Lo, K., Gupta, T., & Keating, J. L. (2018). Interventions to Promote Mental Health Literacy in University Students and Their Clinical Educators. A Systematic Review of Randomised Control Trials. Health Professions Education, 4(3), 161–175.

Meyers, M. C., van Woerkom, M., & Bakker, A. B. (2013). The added value of the positive: A literature review of positive psychology interventions in organizations. European Journal of Work and Organizational Psychology, 22(5), 618–632.

Morgan, A. J., Reavley, N. J., Ross, A., Too, L. S., & Jorm, A. F. (2018). Interventions to reduce stigma towards people with severe mental illness: Systematic review and meta-analysis. Journal of Psychiatric Research, 103, 120–133.

Penn Arts & Sciences. (2019). Positive psychology center. Retrieved March 21, 2019, from https://ppc.sas.upenn.edu

Pillay, N., Park, G., Kim, Y. K., & Lee, S. (2020). Thanks for your ideas: Gratitude and team creativity. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 156, 69–81.

Pozos-Radillo, E., Preciado-Serrano, L., Plascencia-Campos, A., & Rayas-Servín, K. (2015). Chronic Stress and Its Association with Psychological, Behavioral and Physiological Variables of Mexican College Students. Advances in Applied Sociology, 05(12), 299–305.

Reavley, N. J., & Jorm, A. F. (2011). Stigmatizing Attitudes towards People with Mental Disorders: Findings from an Australian National Survey of Mental Health Literacy and Stigma. Australian & New Zealand Journal of Psychiatry, 45(12), 1086–1093.

Riebschleger, J., Costello, S., Cavanaugh, D. L., & Grové, C. (2019). Mental health literacy of youth that have a family member with a mental illness: Outcomes from a new program and scale. Frontiers in Psychiatry, 10, 2.

Romas, J., & Sharma, M. (2017). Practical Stress Management (7nd ed.). San Francisco: Pearson/Benjamin Cummings.

Seligman, M., & Csikszentmihalyi, M. (2000). Positive psychology: An Introduction. The American psychologist, 55(1), 5–14.

Shagvaliyeva, S., & Yazdanifard, R. (2014). Impact of flexible working hours on work-life balance. American Journal of Industrial and Business Management, 4(1), 20–23.

Slade, M. (2010). Mental illness and well-being: the central importance of positive psychology and recovery approaches. BMC Health Services Research, 10(1), 26.

Tosati, S., Lawthong, N., & Suwanmonkha, S. (2015). Development of an appreciative inquiry and assessment processes for students’ self-knowing and self-development. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 191, 753–758.

Waldmann, T., Staiger, T., Oexle, N., & Rüsch, N. (2020). Mental health literacy and help-seeking among unemployed people with mental health problems. Journal of Mental Health, 29(3), 270–276.

World Health Organization. (2011). Psychological first aid: Guide for field workers. Retrieved August 24, 2018, from https://apps.who.int/iris/handle/10665/44615

World Health Organization. (2013). Mental health action plan 2013–2020. Retrieved August 24, 2018, from https://www.who.int/features/factfiles/mental_health/en/.

World Health Organization. (2018). Latest data. Retrieved August 24, 2018, from http://www.who.int/mental_health/ prevention /suicide/suicide prevent/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-30