ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี คาวีวงศ์ faculty of public health khonkaen university
  • รุจิรา ดวงสงค์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความเครียด, การจัดการความเครียด, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 5-7 มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น มีความเครียด วิตกกังวล หลงลืม ซึมเศร้า ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความเครียด ประกอบด้วยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม  และการจัดการกับความเครียดเป็นต้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีจำนวน 450 คน และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและรวบรวมในระหว่าง เดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2562 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น จำนวน ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทำให้เกิดความเครียด การจัดการความเครียดและระดับความเครียดของผู้สูงอายุ ใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก 95% CI (Multiple logistic regression analysis)

ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 68.4 มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้สูงอายุที่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นอาชีพ (ORadj=2.17, 95% CI= 1.38 ถึง 3.42, p-value=0.001), รายได้เพียงพอ (ORadj=1.73 95% CI=1.08 ถึง 2.77, p-value= 0.024), ที่พักอาศัย (ORadj=2.18, 95% CI=1.21 ถึง 3.92, p-value=0.009), และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (ORadj=3.06, 95% CI=1.92 ถึง 4.88, p-value<.001)

ข้อเสนอแนะ: 1).รัฐบาลควรเพิ่มเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ เนื่องว่าผู้สูงอายุเสนอแนะว่าเงินที่ได้รับจากสงเคราะห์ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีรายได้พิเศษจากการเข้าร่วมผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของตนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่นทำอาหารพื้นเมือง (เช่นน้ำพริกปลาร้า) ฯลฯ 2). ผู้สูงอายุอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่าและควันรบกวน ดังนั้นควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยต่อสุขภาพผู้สูงอายุ  

References

กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต. (2561). สถิติผู้สูงอายุฆ่าตัวตายมากเป็นอันดับ 2. ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2561, จาก https://www.dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=27623.

เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 306-318.

นิติกร ภู่สุวรรณ. (2556). ความเครียดของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลแห่งหนึ่ง จังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (ฉบับพิเศษ), 164-171.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512367202-108_0.pdf.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2561). การคัดกรองความเครียด(ST-5)ในกลุ่มผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id= 574437c29aff8d1709da55677abc4b03&id=7bd56fb9f20abea2eb72dfca24155e6a

สรร กลิ่นวิชิต, เวธกา กลิ่นวิชิต, พวงทอง อินใจ, & พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต. (2558). การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร, 2(1), 15-20.

เสาวลักษณ์ เรืองเกษมพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 170-181.

อังควรา วงษาสันต์, & นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดของผู้สูงอายุในเขตบางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

Black, C. N., Bot, M., Scheffer, P. G., Cuijpers, P., & Penninx, B. W. (2015). Is depression associated with increased oxidative stress? A systematic review and meta-analysis. Psychoneuroendocrinology, 51, 164-75.

Cohen, S., Kamarck, T., & Mermelstein, R. (1983). A global measure of perceived stress. Journal of Health and Social Behavior, 24, 386-396.

Hosmer, D. W., & Lemeshow, S. (2000). Applied logistic regression. New York: John Wiley & Sons.

Hsieh, F. Y., Bloch, A. D., & Larsen, D. M. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.

WebMD. (2018). Causes of stress. Retrieved August 18, 2018, from https://www.webmd.com/balance/guide/ causes-of-stress#1

World Health Organization. (2015). World report on ageing and health. Retrieved August 18, 2018, from http://www.who.int/ageing/publications/world-report/en/

World Health Organization. (2017a). Mental health of older adults. Retrieved August 18, 2018, from http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

World Health Organization. (2017b). The problem. Retrieved August 18, 2018, from http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-17

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ