ปริมาณน้ำตาลในเลือดของกลุ่มผู้บริโภคข้าวหุงแบบเช็ดน้ำและข้าวหุงแบบไม่เช็ดน้ำ

ผู้แต่ง

  • อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุกัญญา ชูคันหอม
  • ลภณพร โกมินทร์
  • ทัศนีย์ นารินทร์
  • พรทิพย์ ใจธรรม
  • ศรัณย์พร เหมวงษ์

บทคัดย่อ

ข้าวเป็นอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ประชากรมากกว่าครึ่งโลกรับประทานเป็นอาหารหลัก และวิธีการหุงข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อปริมาณคาร์โบไฮเดรตในข้าว ข้าวจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระดับน้ำตาลในเลือด ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองที่รับประทานข้าว(ข้าวดอกมะลิ 105 กข.15) หุงแบบเช็ดน้ำและกลุ่มควบคุมที่รับประทานข้าวหุงแบบไม่เช็ดน้ำ และหาระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครนิสิตสาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ที่มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 60 คน โดยแบ่งกลุ่มทดลองที่รับประทานข้าวหุงแบบเช็ดน้ำจำนวน31 คน และกลุ่มควบคุมที่รับประทานข้าวหุงแบบไม่เช็ดน้ำจำนวน 31 คน ในปริมาณ 100 กรัมต่อคน โดยเจาะเลือดจากปลายนิ้วในนาทีที่ 0 (ก่อนรับประทานข้าว) และหลังจากรับประทานข้าวทุก 30นาที เมื่อวิเคราะห์ ผลการศึกษา จากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ณ นาทีที่ 0 (ก่อนรับประทานข้าว)และหลังจากรับประทานข้าวที่นาทีที่ 30, 60, 90, และ 120 นาที พบว่า ในกลุ่มทดลอง ณ นาทีที่ 0 มีปริมาณน้ำตาลในเลือด 88.2 mg/dl และหลังรับประทานข้าวหุงแบบเช็ดน้ำมีระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆลดลงจากนาทีที่ 30 (128.87 mg/dl) ไปจนถึงนาทีที่ 120 (92.44) ส่วนกลุ่มควบคุม ณ นาทีที่ 0 มีปริมาณน้ำตาลในเลือด 84.07 mg/dlและหลังจากรับประทานข้าวแบบไม่เช็ดน้ำพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มลดลงในนาทีที่ 60 (126.17mg/dl) ไปจนถึงนาทีที่ 120 (105.53 mg/dl) เมื่อวิเคราะห์หาปริมาณคาร์โบไฮเดรตด้วยวิธีทางอ้อมโดยประยุกต์จากวิธีการหาปริมาณคาร์โบไฮเดรต (AOAC,2000) พบว่าข้าวหุงแบบไม่เช็ดน้ำมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31.8 g/ 100g ส่วนข้าวหุงแบบเช็ดน้ำ และน้ำข้าว มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 28.77 และ 1.57 g/100g ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-25