ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 2-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยะ ปุริโส คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพิมล ชูพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยก่อนเรียน, การเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการในเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 2-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย จำนวนทั้งหมด 366 คนโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาสถานการณ์การเจริญเติบโต ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโต และรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย สำนักโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกนำเสนอด้วยค่า Adjust odds ratio (ORadj) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม นำเสนอด้วยค่า Relative risk ratio (RRR) ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% (95% Confidence interval; 95%CI)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 4.1 มีภาวะผอม น้ำหนักเกิน และอ้วน ร้อยละ 4.9 11.8 และ 10.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัมมีความสัมพันธ์กับภาวะเตี้ย (ORadj=4.26, 95% CI: 1.65–11.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของกลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ เพศชาย (RRR=1.83, 95% CI: 1.11–3.07) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 6 เดือน (RRR=1.91, 95% CI: 1.11-3.27)ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผอมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ของมารดาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (RRR=3.61, 95% CI: 1.23-10.42) และกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคอาหารเช้าไม่ครบทุกวัน (RRR=2.80, 95% CI: 1.02-7.67) การศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านมารดาและสุขภาพเด็กมีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมโภชนาการที่ถูกต้องให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งภายหลังเด็กเกิด รวมถึงมีการติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขกลุ่มมาตรฐาน: งานโภชนาการ. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c

คณะอนุกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับหรับผู้บริโภค. (2559). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. นนทบุรี: สำนักอาหาร สำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

จักรินทร์ ปริมานนท์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์, & สมเกียรติยศ วรเดช. (2561). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 329-342.

ชัยพร พรมสิงห์, วรรณา กางกั้น, & พนิต โล่เสถียรกิจ. (2557). ภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยไทย พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2561, จาก https://hpc03.files.wordpress.com/2016/09/wannapa0959.pdf

นพร อึ้งอาภร. (2556). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนในพื้นที่ตำบลรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 52(1), 70-82.

ปราณี ทัดศรี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(1), 69-77.

พรรณี ไพบูลย์ และคณะ. (2561). ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารสาธารณสุขนครสวรรค์, 4(2), 27-42.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2557). โภชนาการเด็ก เรื่องไม่เล็กที่ต้องสนใจ. ใน พัชรา เอี่ยมกิจการ (บรรณาธิการ). พัฒนาการเด็กปฐมวัยรากแก้วแห่งชีวิต: การประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. (หน้า 16-20). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

วนิสา องอาจ, & สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 13-27.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2554). รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สำนักงาน.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล, & รุ่งรดี พุฒิเสถียร. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 120-133.

สินีพร ยืนยง, กนกพร หมู่พยัคฆ์, & นันทวัน สุวรรณรูป. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(2), 90-100.

Fattah, C., Farah, N., Barry, S., O’Connor, N., Stuart, B., & Turner, M. J. (2010). Maternal weight and body composition in the first trimester of pregnancy. Acta Obstetriciaet Gynecologica Scandinavia, 89, 952-955.

Gennette, S., Varlamov, A., & Eason, R. (2017). Pregnancy outcomes in underweight versus ideal weight women at time of delivery. Obstetrics & Gynecology, 129(5), 69S-70S.

Hsieh, F. Y., Bloch, D.A., & Larson, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.

Moreno, L. A., & Rodríguez, G. (2007). Dietary risk factors for development of childhood obesity. Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care, 10(3), 336-341.

Viet, T. H. (2016). Household and child feeding practice factors affecting stunting status among Raglai children under five in Vietnam. Journal of Health Research, 30(3), 191–198.

World Health Organization[WHO]. (2018). Levels and trends in child malnutrition UNICEF/WHO/World Bank Group joint child malnutrition estimates key findings of the 2018 edition. Retrieved August 13, 2018, from http://www.who.int/nutgrowthdb/estimates2017/en/

Yan, J., Liu, L., Zhu, Y., Huang, G.ม & Wang, P. P. (2014). The association between breastfeeding and childhood obesity: A meta-analysis. BMC Public Health, 14, 1267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ