การรับรู้และการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศวิตา ศรีสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวลี โล่วิรกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับรู้, การบริโภคอาหารเช้า, นักศึกษาปริญญาตรี, กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

อาหารมื้อเช้า เป็นมื้ออาหารที่สำคัญแต่นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อนี้น้อยที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้าและการบริโภคอาหารมื้อเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 160 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้า รูปแบบการบริโภคอาหาร และแบบบันทึกอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับโดยโปรแกรม INMUCAL version 4.0

ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาใช้เงินค่าอาหารวันละ 150-250 บาท เป็นเงินค่าอาหารมื้อเช้า 25-50 บาท นักศึกษามีการบริโภคอาหารมื้อเช้าในวันเรียนปกติ ร้อยละ 62.5 และวันหยุด ร้อยละ 41.3 ซึ่งอาหารมื้อเช้าที่นักศึกษาบริโภค 5-6 วัน/สัปดาห์ เป็นอาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวผัดกะเพรา ข้าวหมูแดง และข้าวขาหมู เป็นต้น ร้อยละ 31.9 และข้าวราดแกง ร้อยละ 41.9 ซึ่งแหล่งอาหารมื้อเช้ามาจากร้านค้าในคณะ ซึ่งปริมาณพลังงานที่รับจากอาหารมื้อเช้าโดยเฉลี่ย 415±148.78 กิโลแคลอรี่/วัน และการศึกษาการรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้า พบว่า การรับรู้ความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้าของนักศึกษาอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 4.34±0.42 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการไม่บริโภคอาหารมื้อเช้า และการรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหารมื้อเช้าอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.62±0.41 และ 3.28±0.78 ตามลำดับ

ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรส่งเสริมการรับรู้และการบริโภคอาหารมื้อเช้าในกลุ่มนักศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพของนักศึกษา

References

ณัฐพร สุแสงรัตน์. (2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 2 สถาบันพระบรมราชนก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิภพ ทองจันทร์. (2558). พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตปริญญาตรี สาขาสุขศึกษาคณะศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พีรพัฒน์ พรมแตง, & พีระพงษ์ ยิ้มแย้ม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรบุรี. สุพรรณบุรี: สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรบุรี.

เมลดา อภัยรัตน์. (2553). แบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารสาธารณสุข, 40(2), 150-160

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 33-34.

สุวรรณรัตน์ สุบรรณ, แก้ววิไล สุจจชารี, สุภาพ วนารัตน์มงคล & วสุนธรา รตโนภาส. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. ใน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสารณสุข. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ครั้งที่ 3. (หน้า 577-584). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

สุวลี โล่วิรกรณ์ และคณะ. (2556). การบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาลัยบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 62-68.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). อาหารเช้าสำคัญไฉน. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/37944

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561, จาก http://www.nso.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2557). ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อินทิรา แก้วมาตร. (2553). ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา สาขาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการชุมชน บัณฑิตวิทาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Neumark–Sztainer, A., Story, M., Perry, C., & Cassey, M. A. (1999). Factors influencing food choices of adolescents: finding from focus-group dicussions with adolescents. Journal of the American Dietetic Association, 99(8), 929-937.

Pivik, R. T., Tennal, K. B., Chapman, S. D., & Gu, Y. (2012). Eating breakfast enhances the efficiency of neural networks engaged during mental arithmetic in school-aged children. Physiology and Behavior, 106(4), 548-555.

Spence, C. (2017). Gastrophysics: The New Science of Eating. Penguin, London, UK.

Zullig, K., Ubbes, V. A., & Pyle, J. (2006). Dieting behavior and breakfast eating among high school adolescents. Journal of School Health, 76(3), 87-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01