ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความชุก, พฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนบทคัดย่อ
ปัจจุบันการใช้งานสมาร์ตโฟนที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน ซึ่งผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล และผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟนไม่ว่าจะเป็นอาการเกี่ยวกับสายตา กล้ามเนื้อ ความอ้วน เป็นต้น มักจะมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนมากกว่าคนทั่วไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งหมด 602 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression analysis) แสดงผลด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI)
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความชุกพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนร้อยละ 58.1 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) มีจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ กลุ่มไม่ได้ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อการศึกษามีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj =9.63; 95% CI=3.84-24.16), กลุ่มที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj=2.35; 95% CI=1.42-3.87), กลุ่มที่ใช้สมาร์ตโฟน ≥8 ชั่วโมง/วัน มีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj=2.99; 95% CI=1.82-4.90), กลุ่มที่ตรวจเช็คสมาร์ตโฟน ≥40 ครั้งต่อวัน มีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj=5.72; 95% CI=2.81-11.64), กลุ่มที่มีภาวะวิตกกังวลมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj=3.29; 95%CI=1.44-7.52) และกลุ่มที่มีอาการที่เกี่ยวข้องจากการใช้สมาร์ตโฟนบางครั้ง/บ่อยครั้งมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj= 8.85; 95%CI=5.38-14.54)
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองและโรงเรียนควรมีมาตรการในการควบคุมดูแลการใช้งานสมาร์ตโฟนของนักเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ ผู้ปกครองควรมีการกำหนดระยะเวลาในการใช้สมาร์ตโฟน และมีการแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมด้านอื่นๆ มีการกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับค่าบริการที่เกี่ยวกับสมาร์ตโฟน โรงเรียนควรมีกฎระเบียบการใช้สมาร์ตโฟนโดยให้นักเรียนใช้สมาร์ตโฟน ในห้องเรียนเพื่อการสืบค้น ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษาเท่านั้น หรือให้ครูประจำรายวิชาเก็บโทรศัพท์นักเรียนก่อนเริ่มการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูประจำรายวิชานั้นๆซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ และสังคมที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนในอนาคตได้
References
เจนจิรา สงรัตน์. (2557). อิทธิพลการหวาดกลัวสังคม การยอมรับนับถือตนเอง อาการโฟโมที่มีต่อการเสพติดสมาร์ตโฟน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชีวรัตน์ ปราสาร. (2560). ความชุกของภาวะ nomophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่ใช้สมาร์ตโฟนในมหาวิทยาลัยภาครัฐ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(2), 249-259.
สันทณี เครือขอน, สิริลักษณ์ กาญจโนมัย, กมลวรรณ แก้วเหล็ก, นิศารัตน์ เจตน์จงใจ, จุฬาลักษณ์ คำคง, นวลชนก นานอน และคณะ. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับอาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือกับการใช้สมาร์ตโฟนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเขตคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(1), 18-27.
สำนักงานสถิติแห่งประเทศไทย. (2561). ผลสำรวจชี้คนไทยใช้สมาร์ตโฟนแทนคอมฯ. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561, จาก https://www.it24hrs.com/2017/nso-thai-stat-app-announce/
สิทธิศักดิ์ สุวรรณี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2552). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Anna, L. S. K., Alexandre, M. V., Adriana, C. S., Federica, S., Sergio, M., Antonio E. N. et al. (2014). Nomophobia: Impact of cell phone use interfering with symptoms and emotions of individuals with panic disorder compared with a control group. Clinical Practice & Epidemiology in Mental Health, 10, 28-35.
Boumosleh, J. M. & Jaalouk, D. (2017). Depression, anxiety, and smartphone addiction in university students: A cross sectional study. PLoS ONE, 12(8), 1-14.
Boumosleh, J. M. & Jaalouk, D. (2018). Smartphone addiction among university students and its relationship with academic performance. Global Journal of Health Science, 10(1), 48-59.
Chen, B., Liu, F., Ding, F., Ying, X., Wang, L. & Wen, Y. et al. (2017). Gender differences in factors associated with smartphone addiction: a cross sectional study among medical college students. BMC Psychiatry, 17, 1-9.
Kwon, M., Kim, D. J., Cho, H. & Yang, S. (2013). The Smartphone Addiction Scale: Development and validation of a short version for adolescents. PLoS One, 8(12), 1-7.
Lee, H., Kim, J. W., & Choi, Y. (2017). Risk factors for smartphone addiction in Korean adolescents: Smartphone use patterns. Journal of Korean Medical Science, 32, 1674-1679.
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., J r., Klar, J., & Lwanga, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Chichester: Wiley.
Nazir, S. H., & Maya, S. (2017). Relationships among smartphone addiction, anxiety, and family relations. Behaviour & Information Technology, 10, 2-8.
Seong-Soo, C., & Bo-Kyung, S. (2018). Smartphone use and smartphone addiction in middle school students in Korea: Prevalence, social networking service, and game use. Retrieved September 1, 2018, from http://journals.sagepub.com/doi/10.1177/2055102918755046
Thomée, S., Härenstam, A., & Hagberg, M. (2011). Mobile phone use and stress, sleep disturbances, and symptoms of depression among young adults - a prospective cohort study. BMC Public Health, 11, 66.