ความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารของชาวพุทธที่เอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์: กรณีศึกษาในจังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร ตาเสน คระสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สุขภาพของพระสงฆ์, ความเชื่อ, พฤติกรรมการทำบุญใส่บาตร, การถวายภัตตาหาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารของชาวพุทธเอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลด้วยกระบวนวิธีเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์ด้วยแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในเขตเมืองและเขตชนบทแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน

เลือกกลุ่มตัวอย่างศึกษาตามสะดวก  รวมทั้งหมด 64 คน เป็นชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ทำศึกษาจำนวน 49 คน พระสงฆ์ จำนวน 6 รูป และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการถวายอาหารทำบุญแด่พระสงฆ์ จำนวน 9 คน ได้แก่ พ่อค้า แม่ค้า ที่ขายอาหารในตลาดและร้านค้าในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลแบบด้วยกระบวนการ content analysis

ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อในการทำบุญของชาวพุทธพบว่าชาวพุทธ ร้อยละ 76.66 ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธาในบุญและบาปผ่านพิธีกรรมและศาสนาเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเอง บุคคลอันเป็นที่รักและบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว  อาหารทำบุญล้วนมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับความชอบส่วนบุคคลและอาหารมงคล พฤติกรรมการถวายอาหารทำบุญของชาวพุทธในเมืองและในชนบทมีความเชื่อในการถวายอาหารทำบุญไม่ต่างกัน ภายใต้บริบทของสังคมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวชนบทท้องถิ่นยังมีวิถีปฏิบัติสืบทอดตามบรรพบุรุษและมีประกอบอาหารทำบุญในครัวเรือนถวายพระสงฆ์มากกว่าชาวพุทธในเมือง แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่แปรเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมเมือง มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบส่งผลต่อให้ในภาพรวมพฤติกรรมการเตรียมอาหารทำบุญที่ชาวพุทธถวายให้แก่พระสงฆ์เป็นอาหารที่ซื้อมากกว่าปรุงเองในครัวเรือน จากการสำรวจอาหารจากการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารทั้งหมด 163 รายการ พบว่าเป็นอาหารที่ซื้อ 113 รายการคิดเป็นร้อยละ 69.3 ซึ่งมีมากกว่าอาหารปรุงเองในครัวเรือน 50 รายการ ร้อยละ 31.7 ประกอบไปด้วยแป้ง ไขมันซึ่งเป็นอาหารที่อยู่ในโซนสีแดงส่งต่อการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดและสุขภาพของพระสงฆ์ อาทิเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แคบหมู อาทิอาหารผัด  แกงกะทิ นมรสหวาน และขนมหวานเช่น แตงไทยกะทิสด

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คนไทย ไร้พุง. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/ images/files/pichit.pdf

ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง. (2557). เส้นทางการสืบสานภูมิปํญญาอาหารล้านนาสู่ความยั่งยืน. วารสารเกษตรศาสตร์, 35, 189-205.

ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. พะเยา: วิทยาลัยพยบรมราชชนนี พะเยา สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

มยุรี วัฒนกุล,จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ,จุรีย์ ทนุรัตน์, กฤษดา พรหมวรรณ์, & ระบอบ เนตรทิพย์. (2548). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในพระสงฆ์เขตเทศบาลตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). แนวทางเวชปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่างกายการออกกำลังกายในพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/tag/พระสงฆ์

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนะใส่ใจสักนิดก่อนคิดทำบุญ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก http://pr.moph.go.th/ iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. (2561). กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: ฐานข้อมูล 43 แฟ้มจังหวัดน่าน. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จาก https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/data-service/43files

สุณี บุญพิทักษ์. (ม.ป.ป.). การศึกษาความเชื่อในผลของความดี: โครงการวิจัย. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จาก http://library.cmu.ac.th/moralcorner/sites/default/files/pictures/re_july2012_2.pdf

เสถียร วรรณปก. (2561). ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับหลักธรรม. มติชนสุดสัปดาห์, (2561, 16-17 พฤษภาคม), 71

Wisitchareon, K., Boonchieng, W., Suwanprapisa, T., & Buddhirakkul, P., (2559). The effect of a community empowerment program on community awareness and capicity among stakeholder in diabetes prevention in buddhist monks. CMU Journal of Social Science and Humanities, 3(2), 133-149..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01