การประเมินผลความสูญเสียของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขนต่อค่าทดแทนของการประกอบอาชีพ

ผู้แต่ง

  • เกรียง กิจบำรุงรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม, ค่าทดแทนจากการสูญเสีย, รายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างก่อนประสบอุบัติเหตุ, รายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างหลังจากที่รับการฟื้นฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยการประเมินผลความสูญเสียของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขน ต่อค่าทดแทนของการประกอบอาชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ สถานะสุขภาพทางกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขน จากการประกอบอาชีพภายหลังจากได้รับการจ่ายค่าทดแทน 2) เพื่อหาตัวแบบและตัวแปรที่มีผลต่อการได้รับการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะของลูกจ้าง รายได้ของอัตราค่าจ้างลูกจ้างก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุ รายได้ของอัตราค่าจ้างลูกจ้างหลังจากที่ได้รับการฟื้นฟู และรายได้ของความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างของคนปกติและคนสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งได้ 6 กลุ่มได้แก่กลุ่มลูกจ้างที่ประสบอันตรายจนสูญเสียอวัยวะ 1) นิ้วมือ 2) ง่ามนิ้วมือ 3) มือ 4) ข้อมือ 5) แขนเหนือศอกและ 6) แขนใต้ศอก ในจังหวัดระยอง ปทุมธานี สมุทรปราการสมุทรสาครและกรุงเทพฯจำนวน 300 คน วิธีการศึกษาเป็นการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่พิการต่อค่าทดแทนการสูญเสียจากการประกอบอาชีพ ด้วยการใช้ตัวแบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกจ้างส่วนใหญ่มีสถานะสุขภาพทางกาย จิต ปัญญาและสังคมค่อนข้างปกติ ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ยกเว้นแต่ในช่วงเวลาหลังจากประสบอันตรายในตอนแรกจำเป็นต้องมีผู้ดูแลเพราะยังไม่คุ้นเคยต่อการช่วยเหลือตัวเองซึ่งยังต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวลูกจ้างมีความเห็นว่าตนเองมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมแย่ลงกว่าเดิม เพราะมีข้อจำกัดในการทำงานที่ใช้นิ้วมือหรือมือไม่ถนัดเหมือนเดิม ทำให้สูญเสียโอกาสในการทำงานที่จะหารายได้ให้มากขึ้นหรือได้รับความก้าวหน้าในการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจและยังมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยและอาย2) ตัวแบบและตัวแปรที่มีผลต่อการได้รับการจ่ายค่าทดแทนได้แก่2.1) ตัวแบบการได้รับการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะของลูกจ้าง มีความสัมพันธ์กับอวัยวะที่ได้รับการสูญเสียของลูกจ้าง และอายุ 2.2) ตัวแบบรายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างก่อนประสบอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์กับ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และอายุ  2.3) ตัวแบบรายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างหลังจากที่รับการฟื้นฟูมีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน อายุและอาชีพก่อนประสบอุบัติเหตุ 2.4) ตัวแบบรายได้ของความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างปกติและลูกจ้างที่สูญเสียสมรรถภาพของร่างกายมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา และอาชีพก่อนประสบอุบัติเหตุ

References

เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2560). การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่สูญเสียนิ้วมือ มือและแขนต่อค่าทดแทนจากการสูญเสียจากการประกอบอาชีพ. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 4(6), 11-31.

ปียนุช รัตกุล. (2548). รายงานการวิจัยการประเมินผลกระทบความสูญเสียจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม:ศึกษากรณีอันตรายที่เกิดเกี่ยวกับตา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยวิจัยและการศึกษา.

มงคล เทียนประเทืองชัย. (2539). การจัดสวัสดิการแรงงานของไทยกรณีศึกษากองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

เลิศฤทธิ์ อารยะสัจพงษ์. (2550). การประเมินความสูญเสียจากการพิการตามนโยบายของกฎหมายค่าทดแทน กรณีพิการขาจากการทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีศักดิ์ สุนทรไชย, & รัฐวิชญ์ จิวสวัสดิ์. (2550). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่สูญเสียมือจากการประกอบอาชีพ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 20(1), 98–112.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2559). รายงานสถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทางาน ปี 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน.

สุดาศิริ มัทวพันธุ์. (2519). เงินทดแทนในกฎหมายแรงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพิชา ชลวานิช. (2546). แผนการประกอบอาชีพของคนพิการ ภายหลังสำเร็จการฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูอาการคนพิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพล ปธานวนิช, ศักดิ์ศรี บริบาลบรรพตเขตต์, & ภาวนา พัฒนศรี. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องชีวิตการทำงานของลูกจ้างพิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ. (2537). ปัญหาการเข้าสู่แรงงานของคนพิการที่เคยได้รับการฟื้นฟูอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อนันตญา เนียมคล้าย. (2552). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเงิดทดแทน: ศึกษากรณีการจ่ายเงินทดแทนให้แก้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน. สารนิพนธ์ปริญญานิติสาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

Buddapane, P. (2009). Assessment of hospital cleaning workers on health risks: A case study of community hospitals, Khon Kaen Province. Master of Public Health Thesis in Environmental Health, Graduate School, Khon Kaen University.

Kuasiri, N., Thongchai, K., & Somboon, T. (2008). Occupational health and safety management and risk behavior with respect to occupational injury among construction workers in Ubon Ratchathani municipality. Journal of Science and Technology, 184-194.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-25

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ