คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจในชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในชีวิต การดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณกับคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มารับการตรวจสุขภาพที่คลินิกโรคเรื้อรังและยินดีเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) แบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.1 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ75.7 70.1 66.0 52.1 ตามลำดับ ความพึงพอใจในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 48.1 ความพึงพอใจในชีวิต การดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณกับคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (rs=.687, .405 และ .492 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง
ผลการวิจัยครั้งนี้บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือและหาแนวทางส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิต โดยมีกิจกรรมเน้นการดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
นครราชสีมา, 11(2), 21-38.
จินตนา อาจสันเที๊ยะ, & พรนภา คำพราว. (2557). รูปแบบการดูแลผู้สูวงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 123-127.
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, & ฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 88-99.
ชลธิชา จันทร์แจ้ง, สุพรรษา อามาตย์เสนา, ถนอมศักดิ์ บุญสู่, & แก้วใจ มาลีลัย. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน้ขตตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13. (หน้า 403-410). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธาริน สุขอนันต์, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์, & ปิยรัตน์ จิตรภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 240-9.
นริสา วงศ์พนารักษ์, & สายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-70.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, บุญเรือง ขาวนวล, & พลภัทร ทรงศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(1), 54-64.
มนตรี เกิดมีมูล. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(2), 79-90.
มุฑิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, & พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 18-29.
มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, & พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2559). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2557). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: อัพ ทรูยู ครีเอทนิว.
สมพร โพธินาม และคณะ. (2552). ผู้สูงอายุไทย บริบทของจังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 24(3), 197-205.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย (ด้านสุขภาพ). ค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ themes/files/elderlyworkFullReport57-1.pdf
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2555). รูปแบบของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกับการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต. วารสารกองการพยาบาล, 39(2), 94-100.
Borg, C., Hallberg, I. R., & Blomqvist, K. (2006). Life satisfaction among older people (65+) with reduced self-care capacity: the relationship to social, health and financial aspects. Journal of Clinical Nursing, 15, 607-618.
Canković, S., Nikolić, E. A., Jovanović, V. M., Kvrgić, S., Harhaji, S., & Radić, I. (2016). Quality of life of elderly people living in a retirement home. Vojnosanitetski Pregled, 73(1), 42–46.
Jin, K. (2010). Modern biological theories of aging. Aging and Disease, 1(2), 72-74.
Kwak, Y., & Kim, Y. (2017). Health related quality of life and mental health of elderly by occupational status. Iran Journal Public Health, 46(8), 1028-1037.
Uddin, M. A., Soivong, P., Lasuka, D., & Juntasopeepun, P. (2017). Factor related to quality of life among older adults in Bangladesh: A cross sectional survey. Nursing & Health Sciences, 19, 518-524.
Xie, J., Ding, S., Zhong, Z., Yi, Q., Zeng, S., Hu, J., et al. (2014). Mental health is the most important factor influencing quality of life in elderly left behind when families migrate out of rural China. Revista Latino-Americana De Enfermagem, 22(3), 364–370.