ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะหัวใจล้มเหลวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลระหว่างเมษายน ถึง มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 60-80 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือน้อยกว่า 1,000 บาท ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 kg/m2 ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยเอื้อในด้านการมีอาหารเพียงพอ และการเข้าถึงอาหารอยู่ในระดับต่ำ การใช้ประโยชน์จากอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับดี
ส่วนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารของผู้ป่วย พบว่า ส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทข้าวเป็นหลักสลับกับแป้งประเภทอื่นๆ และมักเติมน้ำตาลลงในอาหาร อีกทั้งผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และไม่รับประทานอาหารทะเลและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยใช้ผงชูรสหรือผงปรุงแต่งรสและเติมน้ำปลาลงในอาหาร จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย และการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
จริญญา คมเฉียบ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ สมรรถนะแห่งตน กับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกานต์ ช่างเหล็ก. (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นนทกร ดำนงค์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2549). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
รพีพรรณ เนาว์ประดิษฐ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพร อธิสกุล. (2552). ความชุกของการพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สว่างจิต คงภิบาล. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2558 กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ. กรุงเทพฯ: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สินีนุช หลวงพิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วิทยิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
หน่วยเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร. (2559). สถิติจำนวนผู้ป่วยในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. สกลนคร: โรงพยาบาลศูนย์สกลนครจังหวัดสกลนคร.
Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. Songkla: Thailand Research Fund & Prince of Songkla University.
Riegel, B., Carlson, B., & Glaser, D. (2000). Development and testing of a clinical tool measuring self management of heart failure. Heart & Lung: Journal of critical care, 29(1), 4-15.
World Heart Campaign. (2014). About world heart day 2014. Retrieved September 3, 2018, from http://www.worldheart-federation.org/index.php?id=123, 2004.