ผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสื่อสารด้วย “Facebook” ในนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิมลวรรณ สุดชารี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การรู้เท่าทันสื่อ, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่การเสียชีวิตและความพิการก่อนวัยอันควร ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณปีละ 3 ล้านคน ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจาก ความอยากรู้อยากลอง กลุ่มเพื่อน การเข้าถึง สื่อโฆษณา เป็นต้น  ประเทศไทยพบว่าเยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.96 ต่อ อย่างไรก็ดีกลยุทธ์ในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาความรอบรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพื่อโน้มน้าวให้เยาวชน มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ทักษะการตัดสินใจในไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านทางสุขภาพร่วมกับการสื่อสารด้วย Facebook กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 64 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 32 คน (กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ การบรรยายประกอบสื่อ วิดีทัศน์ เล่นเกม การฝึกทักษะการตัดสินใจ แสดงบทบาทสมมติ บุคคลต้นแบบ อภิปรายกลุ่ม โดยร่วมกันวิเคราะห์สื่อโฆษณา ฝึกปฏิบัติการสื่อสารทาง Facebook เพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  กลุ่มเปรียบเทียบได้รับสุขศึกษาตามปกติในโรงเรียน เวลาในการดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ใช้สถิติ Paired Sample t-test, Independent t-test และ ANCOVA กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการวิเคราะห์ พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง  และความตั้งใจที่จะไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากกว่า ก่อนทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05)

Author Biography

พิมลวรรณ สุดชารี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปี 2553  ปริญญาตรี  วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)  สาขาวิชา อนามัยชุมชน  มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัจจุบัน กำลังศึกษา สาธารณสุขศาสตร์มหบัณฑิต  สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ฑิฆัมพร หอสิริ, ชุลีกร สิทธิสันติ์, & กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. (2559). ความชุกของพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(1), 3-14.

ทัพพ์ขวัญ ศรีรัตยาวงค์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, & อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. พยาบาลสาร, 42(3), 135-146.

ฝนทิวา โคตรนาลา. (2560). ผลการสำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนประถมศึกษา ตำบลดอกไม้: รายงานการสำรวจผู้ดื่มสุรา ประจำปี 2557. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. (เอกสารสำเนา).

ฝนทิวา โคตรนาลา, ลาพึง วอนอก, วรรณศรี แววงาม, สุกัญญา ฆารสินธุ์, & กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 147-162.

ราณี วงศ์คงเดช, อดิศร วงศ์คงเดช, & จำรัส หรรษาวงศ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้สื่อสังคมเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นในโรงเรียนเขตเมือง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 46-57.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางเลิง. (2557). รายงานการสำรวจผู้ดื่มสุรา ประจำปี 2557. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางเลิง. (เอกสารสำเนา).

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2554). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2558). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/18388/20290.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายงานการสำรวจการดื่มสุรา จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2560. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (เอกสารสำเนา).

อดิศักดิ์ พละสาร, & รุจิรา ดวงสงค์. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี พฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนฆ้องชัยวิทยาคม ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 11(1), 83-92.

เอกชัย กันธะวงศ์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, & อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). การพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน. พยาบาลสาร, 42(3), 135-146.

Banerjee, S. C., Greene, K., Magsamen-Conrad, K., Elek, E., & Hecht, M. L. (2015). Interpersonal communication outcomes of a media literacy alcohol prevention curriculum. Translational Behavioral Medicine, 5(4), 425–432.

Botvin, G. J., Griffin, K. W., & Williams, C. (2015). Preventing daily substance use among high school students using a cognitive-behavioral competence enhancement approach. World Journal of Preventive Medicine, 3(3), 48–53.

Center Media literacy [CML]. (1992). Media literacy: A definition and more. Retrieved August 16, 2017, from https://www.medialit.org/media-literacy-definition-and-more.

Chisolm, D. J., Manganello, J. A., Kelleher, K. J., & Marshal, M. P. (2014). Health literacy, alcohol expectancies, and alcohol use behaviors in teens. Patient Education and Counseling, 97(2), 291–296.

Draper, M., Appregilio, S., Kramer, A., Ketcherside, M., Campbell, S., Stewart, B., et al. (2015). Educational intervention/ case study: Implementing an elementary-level, classroom-based media literacy education program for academically at-risk middle-school students in the non-classroom setting. Journal of Alcohol and Drug Education, 59(2), 12–24.

Hardeman, W., Johnston, M., Johnston, D., Bonetti, D., Wareham, N., & Kinmonth, A. L. (2002). Application of the theory of planned behaviour in behaviour change interventions: A systematic review. Psychology & Health, 17(2), 123–158.

Kupersmidt, J. B., Scull, T. M., & Austin, E. W. (2010). Media literacy education for elementary school substance use prevention: study of media detective. Pediatrics, 126(3), 525–531.

Lorig, K. R., & Holman, H. (2003). Self-management education: history, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1–7.

McKay, M., Sumnall, H., McBride, N., & Harvey, S. (2014). The differential impact of a classroom-based, alcohol harm reduction intervention, on adolescents with different alcohol use experiences: A multi-level growth modelling analysis. Journal of Adolescence, 37(7), 1057–1067.

National Association for Media Literacy Education. (2007). Media literacy: A definition. Retrieved August 16, 2017, from http://www.NAMLE.net

Nutbeam, D. (1999) Health promotion glossary. Health Promotion International, 13(4), 349-364.

Nutbeam, D. (2010). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67, 2072–2078.

Shaaruddin, J., & Mohamad, M. (2017). Identifying the effectiveness of active learning strategies and benefits in curriculum and pedagogy course for undergraduate TESL students. Creative Education, 8(14), 720–726.

Sørensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12, 80.

The European Charter for Media Literacy. (2009). Media literacy in Europe: Controversies, challenges and perspectives. Retrieved August 16, 2017, from https://euromeduc.eu/ IMG/pdf/Euromeduc_ENG.pdf

Treno, A. J., Gruenewald, P. J., Lee, J. P., & Remer, L. G. (2007). The Sacramento neighborhood alcohol prevention project: Outcomes from a community prevention trial. Journal of Studies on Alcohol and Drugs, 68(2), 197–207.

World Health Organization [WHO]. (2003). Skills for Health Skills-based health education including life skills: An important component of a child-friendly/health-promoting school. Retrieved August 16, 2017, from http://www.who.int/school_youth_health/ media/en/sch_skills4health_03.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01