แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากร โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุภัทธา สุขวิเศษ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
  • ชนะพล ศรีฤาชา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การสนับสนุนจากองค์การ, การจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดชัยภูมิ โดยศึกษาในบุคลากรที่มีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 324 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5  หาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อันฟ่าของครอนบาชได้ค่าด้านแรงจูงใจ 0.95 การสนับสนุนจากองค์การ 0.96 ด้านการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วย 0.92 แบบสอบถามทั้งชุด 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจ การสนับสนุนจากองค์การ และการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.634, p-value< 0.001, r=0.623, p-value<0.001 ตามลำดับ) แรงจูงใจด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัวและด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการและด้านเทคโนโลยี สามารถพยากรณ์การจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดชัยภูมิ ได้ร้อยละ 50.7 (R2=0.507, p-value<0.001)

References

ณัฐธิมา ต่อศรี, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2558). แรงจูงใจของเภสัชกรที่มีผลการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของฝ่ายเภสัชกรรมในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 1-10.

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2552). การพัฒนา 10 ความสามารถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน. นนทบุรี: ไอดีซีอินโฟดิสทริบิวเตอร์เซ็นเตอร์.

นันท์นภัส ปัชชามูล, & ประจักร บัวผัน. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 16(3), 61-72.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะพงษ์ ศรีสองเมือง, & ประจักร บัวผัน. (2561). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(2), 78-89.

วัชรีวรรณ จันทะวงศ์, & ประจักร บัวผัน. (2558). การดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอจังหวัดอุดรธานี.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 128-137.

ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ, & สุลี ทองวิเชียร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1), 109-120.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กศ์เพลส.

สถาพร รัตนวารีวงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, & วรางคณา จันทร์คง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรองรับคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(26), 48-58.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-2561). กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2555). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2560). รายงานสรุปผลการตรวจราชการเขต 9 ครั้งที่ 2/2560. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริกัญญา วงศ์กาฬสินธุ์, & ประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(1), 69-80.

สิรินทร์ทิพย์ อุดมวงค์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2558). การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 18(2), 78-88

สุชาติ ครองนาวัง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 18(2), 87-98.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nded.). New York: McGraw-Hill.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.

Hertzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (2010). The motivation to work. New Brunswick, NJ: Transaction Publishers.

Likert, R. (1967). Attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ