บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจอก จังหวัดมหาสารคาม
  • ชนะพล ศรีฤาชา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, การสนับสนุนจากองค์การ, การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 748 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและทำการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแนวทางสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.5 วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชด้านบรรยากาศองค์การ 0.96 การสนับสนุนจากองค์การ 0.97 การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ 0.92 และทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอนโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับการสนับสนุนจากองค์การ และระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D.=0.53), 3.82 (S.D.=0.56), 3.96 (S.D.=0.48) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมบรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.623, p-value<0.001, r=0.565, p-value<0.001) ตามลำดับ ตัวแปร การสนับสนุนจากองค์การ ด้านการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การ มิติความรับผิดชอบ และ มิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้ง 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ ได้ร้อยละ 45.9 

References

กุลจิรา แซมสีม่วง. (2560). บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จรณิต แก้วกังวาล และคณะ. (2554). ตำราการวิจัยทางคลินิค. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

จันทนา พัฒนเภสัช. (2559). โครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ทองหล่อ เดชไทย. (2545). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

บูรภพ จันทร์ใบ. (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพิมล จิตธรรมนา, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2558). การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 22(1), 9-21.

พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์, & ประจักร บัวผัน. (2557). การประเมินการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 8(3), 267-280.

รัชนีกร อะโน, & ประจักร บัวผัน. (2558). การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 117-127.

ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(2), 71-84

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2560ก). สรุปรายงานการประชุมอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ครั้งที่ 9/ 2560. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2560ข). รายงานสรุปผลตรวจราชการเขต 9 ครั้งที่ 2/2560. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางการดำเนินงานงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิ.

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิทธิพร นามมา, & สุรศักดิ์ ฆ้องปรุง. (2557). การสนับสนุนจากองค์การมีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 21(2), 9-21.

สิริสา เทียมทัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการใบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดารัตน์ โคตรธนู, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). บรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพมัญจาคีรี-โคกโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(1),181-190.

สุมาลี ลารังสิต, & ประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(3), 67-80.

Elifson, K.W. (1990). Fundamentals of social statistics. New Yok: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ