การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ

ผู้แต่ง

  • จุรีภรณ์ แก้วจันดา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เมตริกความเสี่ยงทางสุขภาพ, การยศาสตร์, ความล้าสายตา, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, อุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) ในโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ เก็บข้อมูลในกลุ่มพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ จำนวน 157 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตามความเหมาะสมของลักษณะงานด้วยการประเมินท่าทางของรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว (Rapid Upper Limb Assessment; RULA) การประเมินร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment; REBA) และการประเมินงานสำนักงาน (Rapid Office Strain Assessment; ROSA) พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกโดยพิจารณาโอกาสและความรุนแรงร่วมกัน ซึ่งโอกาสได้มาจากความเสี่ยงการยศาสตร์ ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สารเคมี(กลิ่นรบกวน) ส่วนความรุนแรงได้มาจากการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย ความล้าสายตา สมรรถภาพทางกาย/ผลสุขภาพประจำปี และสถิติการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุผลการศึกษาพบว่าพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ มีการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 ตำแหน่งแรก ได้แก่ คอ ร้อยละ 66.24 หลังส่วนล่าง ร้อยละ 64.33  ไหล่ ร้อยละ 62.42 ผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ด้วย 3   เทคนิค พบว่า RULA อยู่ในระดับ 2 และ 3 คือ ความเสี่ยงปานกลางและสูง ร้อยละ 30.43 REBA อยู่ในระดับ 4 เสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 56.36 ROSA อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.33 จากการวัดความล้าสายตาโดยใช้หลักการของ critical fusion frequency (CFF) พบว่ามีความล้าสายตา ร้อยละ 60.51 เมื่อนำข้อมูลแต่ละด้านมาพิจารณาร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อพบว่า พนักงานอยู่ในระดับยอมรับได้ ร้อยละ 3.82 และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 47.13

จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า พนักงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษเกือบทุกคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลโรคจากการทำงานของพนักงานได้ จึงควรมีมาตรการโปรแกรมการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานต่อไป

References

จันทิมา ดรจันทร์ใต้, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 29(2), 138-150.

ชมพูศักดิ์ พูลเกษ. (2534). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวัดเมื่อยล้าในการทำงานซ้ำซากใมหาวิทยาสุโขทัยธรรมมาธิราช. การฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและเออร์กอนอมิคส์, 2, 828-831.

นภานันท์ ดวงพรม, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข., 18(5), 880-891.

เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, & รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2553). ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 22(3), 292-301.

เพิ่มศักดิ์ พิมพ์จ่อง, ปภากร พิทยชวาล, & พรศิริ จงกล. (2554). การออกแบบท่าทางการทำงานในกระบวนการผลิตไก่แปรรูปด้วยเทคนิค REBA. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรมประจำปี2554. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 353-358.

เมธินี ครุสันธิ์, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). ความชุกความรู้สึกไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่และหลังของพนักงานสำนักงานของมหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, 15, 1712-1722.

วิพา ชุปวา, & พีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2560). ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานทาความสะอาด. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 23-31.

สำนักงานประกันสังคม. (2558). สถิติกองทุนเงินทดแทน. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp? lang=th&cat=801

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). สถิติอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก http://www.oie.go.th/academic/ statistics

สุนิสา ชายเกลี้ยง, & อารียา ปานนาค. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(2), 1-15.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & วิภารัตน์ โพธิ์ขี. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3X. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Brand, P., & Shrutin, U. (2004). Prevalence of occupational diseases in information technology industries in Goa. Indian journal of occupational and environmental medicine, 8(1), 30-33.

McAtamney, L., & Corlett, N. (1993). RURA: Survey method for the investigation of work related upper limb disorders. Apply Ergonomics, 24(2), 91-99.

Hignett, S., & McAtamney, L. (2000). Rapid entire body assessment. Apply Ergonomics, 31(2), 201-205.

Sonne, M., Villalta, D. L., & Andrews, D. M. (2012) Rapid office strain assessment (ROSA). Applied Ergonomics, 43(1), 89-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ