การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน กรณีศึกษา โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รัตนาวรรณ พนมชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน, พยาบาลแผนกผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน สิ่งคุกคามและประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา โดยทำการศึกษาในกลุ่มพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน จำนวน 126 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด

ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลแผนกผู้ป่วยใน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.10 ( =14.10, S.D.=2.10) มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.60 ( =2.48, S.D.=0.50) และผลการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน พบว่า ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ เป็นระดับที่ไม่อนุญาตให้มีการทำงานเด็ดขาด จนกว่าจะมีการลดความเสี่ยง ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส การเกิดเข็มทิ่มตำหรือถูกของมีคมบาด และการมีสารคัดหลั่งของผู้ป่วยกระเด็นเข้าปากหรือตา และระดับความเสี่ยงสูง เป็นระดับที่ไม่ควรให้ผู้ทำงานปฏิบัติงานก่อนมีการควบคุมหรือลดความเสี่ยงลง ได้แก่ การได้รับรังสี X-Ray การติดเชื้อ ดื้อยา การสัมผัสสารเคมีต่างๆ และท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งคุกคามและระดับความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังความเสี่ยง และการสร้างความตระหนักในเรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2553). สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ.

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน. (2560). รายงานการประเมินตนเอง (SA2011). นครราชสีมา: โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา.

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม. (2560). รายงานการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. นครราชสีมา: โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา.

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลระยอง. (2555). คู่มืออาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลระยอง. ชลบุรี : สัมมาอาชีวะ.

ฉัตร์แก้ว ละครชัย, & ดรุณวรรณ สมใจ. (2559). การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(6), 173-187.

วีระพล วงษ์ประพันธ์. (2556). สถานการณ์โรคและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปี 2556. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 1(1), 1-24.

สนิท พร้อมสกุล. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 1, 1(1), 1-22.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนทร บุญบำเรอ. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(2), 82-92.

El-Sallamy, R. M., Kabbash, I. A., El-Fatah, S. A., & El-Feky, A. (2017). Physical hazard safety awareness among healthcare workers in Tanta university hospitals, Egypt. Environmental Science and Pollution Research, 24(1). 1-13.

Tziaferi, S. G., Sourtzi, P., Kalokairinou, A., Sgourou, E., Koumoulas, E., & Velonakis, E. (2011). Risk assessment of physical hazards in Greek hospitals combining staff’sperception, experts’ evaluation and objective measurements. Safety and Health at Work, 2(3). 260-272.

Chiou, S. T., Chiang, J. H., Huang, N., Wu, C. H., Chien, L. Y. (2013). Health issues among nurses in Taiwanese hospitals: National survey. International Journal of Nursing Studies, 50(10). 1377-1384.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31