คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารมีผลต่อการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ คุ้มวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยทางการบริหาร, การดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารมีผลต่อการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานด้านการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 คน สุ่มตัวอย่างสุ่มแบบมีระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านพบว่า ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 และหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาชได้เท่ากับ 0.98 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าระดับปัจจัยทางการบริหารและการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.92 คะแนน (S.D.=0.50) และ ค่าเฉลี่ย 3.99 คะแนน (S.D.=0.46 ) ตามลำดับ ภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.825, p-value<0.001) ตัวแปรปัจจัยการบริหารด้านเวลาและเทคโนโลยีสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 75.9 (R2=0.756, p-value<0.001) ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลกร ร้อยละ 52.05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงสาธารณสุข ระยะปี 2555-2565: กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงสาธารณสุข 2555-2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. (เอกสารอัด สำเนา).

จารุกิตติ์ นาคคำ, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2557). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการรายงานข้อมูลสุขภาพ ระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 21(1), 1-13.

นันทวัน พุฒลา, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2559). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 9(2), 1-15.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พยุดา ชาเวียง, & ประจักร บัวผัน. (2559). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(1), 56-68.

พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์, & ประจักร บัวผัน. (2557). การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 8(3), 267-280.

พีรภัทร ไตรคุ้มดัน, & ประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (HOSxp_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(2), 90-102.

วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, & ประจักร บัวผัน. (2556). การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(2), 109-120.

สมหมาย ชาน้อย, & พีระศักดิ์ ศรีฤาชา. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS)ของเจ้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(3), 129-139.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2556). งานข้อมูลสารสนเทศ. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2560). ข้อมูลพื้นฐานสาธารณสุข ประจำปี 2560. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2560). สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2559. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัด สำเนา).

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อเนก นนทะมาตย์, & พีระศักดิ์ ศรีฤาชา. (2557). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(3), 146-155.

อัปสร วงษ์ศิริ. (2552). การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการข้อมูลสารสนเทศของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาทิตย์ เที่ยงธรรม, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2559). ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านระบบฐานข้อมูล HOSxp_PCU ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New York: Department of Psychology University.

Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2003). Organizational behavior (8th ed.). New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01