พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่เข้ารับการตรวจ คัดกรองพยาธิใบไม้ตับ บ้านสองห้อง ตาบลร่องคา อาเภอร่องคา จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ฉัตรลดา ดีพร้อม
  • เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ, ความรู้, ทัศนคติ, การรับรู้โทษของการ บริโภคปลาดิบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive crosssectional
study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โทษของการบริโภค
ปลาดิบ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัด
กรองพยาธิใบไม้ตับบ้านสองห้อง ตาบลร่องคา อาเภอร่องคา จังหวัดกาฬสินธุ์จานวน 83
คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่าสุด และค่าสูงสุด
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ ส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.81 มีอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 32.53 สถานภาพสมรสแต่งงานและ
อยู่ด้วยกัน ร้อยละ 79.52กลุ่มตัวอย่างเคยกินปลาจากแหล่งน้าสาธารณะในชุมชน ร้อยละ
98.80 เคยได้รับข้อมูลข่าวสารด้านโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 100.00 โดยส่วนใหญ่ ได้รับ
ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 98.80 และส่วนใหญ่ ไม่มีญาติพี่น้องที่
ป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 80.72 ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับอยู่ในระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 67.47 ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในระดับสูง
ร้อยละ 71.08 การรับรู้โทษของการบริโภคปลาดิบอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.95.และ
พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.93
ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องอาการและการ
ติดต่อของโรคพยาธิใบไม้ตับ รวมถึงการป้องกันและการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ และควร
มีการจัดโครงการหรือจัดอบรมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนความรู้และทัศนคติที่ไม่ถูกต้องใน
การบริโภคปลาน้าจืดแบบ สุกๆ ดิบๆ เพื่อสร้างความรู้และทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องในการ
บริโภคอาหารให้แก่ประชาชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ