การทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับในสิ่งปฏิกูลด้วยวัสดุนำความร้อนและพาราโบลิกรวมแสงจากพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • ฤทธิรงค์ จังโกฏิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัชรีญา ใจภักดี Dong-A University, Seonghak Campus, Hadan-dong, Saha-gu, Busan, South Korea
  • สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พฤกษ์ ตัญตรัยรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Anthony C harles Kuster คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ไข่พยาธิใบไม้ตับ, สิ่งปฏิกูล, แสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับในสิ่งปฏิกูลด้วยแสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพในการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์สู่น้ำ และสู่สิ่งปฏิกูลของชุดทดลองที่แตกต่างกัน 3 ชุดทดลอง คือ ชุดทดลองต้นแบบ ชุดทดลองทาสีดำ และชุดทดลองทาสีดำกับพาราโบลิกรวมแสง โดยแต่ละชุดทดลองศึกษาวัสดุที่ต่างชนิดกัน 4 ชนิด คือ PVC เหล็ก สแตนเลส และ อะลูมิเนียม และ (2) ศึกษาประสิทธิภาพในการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับในชุดทดลองที่แตกต่างกัน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2560 – มกราคม 2561 บันทึกอุณหภูมิในชุดทดลองทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอุณหภูมิในอากาศ ความชื้นในอากาศ และความเข้มแสง 

ผลการศึกษาประสิทธิภาพการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์สู่วัสดุทดลองที่มีน้ำเป็นตัวกลาง พบว่าชุดทดลองพาราโบลิกท่อเหล็กทาสีดำสามารถดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์และเพิ่มอุณหภูมิได้สูงสุดที่ 80 °C โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 39.8±13.2 °C ส่วนผลการศึกษาประสิทธิภาพการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์สู่วัสดุทดลองที่มีสิ่งปฏิกูลเป็นตัวกลาง พบว่า ชุดทดลองพาราโบลิกท่ออะลูมิเนียมทาสีดำมีประสิทธิภาพในการเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ชุดทดลองได้สูงสุดที่ 71°C ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 44.40±7.03°C เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการนำความร้อนของชุดทดลองทั้ง 3 ชุดทดลองโดยใช้สถิติทดสอบ Kruskal-Wallis ANOVA พบว่าในทุก ๆ ชุดทดลองวัสดุต่างชนิดกันมีประสิทธิภาพในการนำความร้อนที่แตกต่างกัน และพบว่าชุดทดลองที่มีค่าอุณหภูมิสูงที่สุดคือ ชุดทดลองพาราโบลิกรวมแสง (p<0.001)

สำหรับผลการศึกษาประสิทธิภาพในการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับในชุดทดลองที่แตกต่างกัน  พบว่า ชุดทดลองทาสีดำท่อเหล็กมีประสิทธิภาพในการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับได้ทั้งหมดเมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์จนมีอุณหภูมิมากกว่า 45°C ต่อเนื่องสะสมเป็นระยะเวลามากกว่า 33 ชั่วโมง รองลงมาคือชุดทดลองพาราโบลิกท่อสแตนเลสทาสีดำที่มีประสิทธิภาพในการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับได้ทั้งหมดเมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์จนมีอุณหภูมิมากกว่า 45°C ต่อเนื่องสะสมเป็นระยะเวลามากกว่า 39 ชั่วโมง จึงสามารถสรุปได้ว่าชุดทดลองในการศึกษาในครั้งนี้มีศักยภาพในการทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับ และมีศักยภาพในการลดระยะเวลาการบำบัดสิ่งปฏิกูลได้ โดยเมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการเลือกชุดทดลองเพื่อนำไปขยายผลในการศึกษาต่อไป ผู้วิจัยเสนอให้เลือกชุดทดลองทาสีดำท่อเหล็ก ซึ่งมีราคาถูก มีความคงทน และสามารถทำลายไข่พยาธิใบไม้ตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

References

กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2542). แผนที่พลังงานแสงอาทิตย์. ค้นเมื่อ ธันวาคม 2559, จากhttp://www4.dede.go.th/dede/index.php?option=com_content& view=article&id=80%3A2010-05-03-10-23-13&catid=52&Itemid=68&lang=th

กรมอนามัย. (2557). รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ไฉไล ช่างดำ, & ไกรวัลย์ มัฐผา. (2558). ประสิทธิภาพของระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรองต่อการกำจัดไข่พยาธิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี, 4(1), 26-35.

ธิดารัตน์ บุญมาศ. (2559). ปลาร้า ปลาส้ม ปลอดภัย ปลอดพยาธิ ปราศจากมะเร็งท่อน้ำดี ได้อย่างไร? วารสารโครงการ CASCAP โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2(6), 8-12.

ประกอบ สุรวัฒนาวรรณ, & ธีรภัทร หลิ่มบุญเรือง. (2554). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการออกแบบ ตัวรับรังสีดวงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://www.acat.or.th/download/acat_or_th/journal-16/16%20-%2012.pdf

รุ่งทวี ผดากาล, & สุรชัย รดาการ. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อน. วิศวกรรมสาร มก., 22(70), 96-109.

วีระศักดิ์ สืบเสาะ. (2551). การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). รายงานสถิติโรค. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid= 219&template=2R1C&yearty pe=M&subcatid=15

Echaubard, P., León, T., Suwanatrai, K., Chaiyos, J., Kim, C. S., Mallory, F. F., et al. (2017). Experimental and modelling investigations of Opisthorchis viverrini miracidia transmission over time and across temperatures: implications for control. International Journal for Parasitology, 47(5), 257-270.

Gantzer, C., Gaspard, P., Galvez, L., Huyard, A., Dumouthier, N., & Schwartzbrod, J. (2001). Monitoring of bacterial and parasitological contamination during various treatment of sludge. Water Research, 35(16), 3763-3770.

Boray, J. C. (2007). Liver fluke disease in sheep and cattle. Primefacts, 446, 1-10.

Morishita, K., Komiya, Y., & Matsubayshi, H. (1972). Process of medical parasitology in Japan. Tokyo: Megureo Paraitological Museum.

Niwagaba, C. B. (2009). Treatment technologies for human faeces and urine. Retrieved October 25, 2017, from http://pub.epsilon.slu.se/2177/1/niwagaba_c_091123.pdf

Shuval, H. I., Gunnerson, C. G., & Julins, D. S. (1981). Night–soil composting: Propriate technology for water supply and sanitation volume 10. Washington, DC: World Bank.

World Health Organization [WHO]. (2002). Sanitation. Retrieved October 25, 2017, from http://www.who.int/ water_sanitation_health/hygiene/emergencies/em2002chap8.pdf

World Health Organization [WHO]. (2016). Soil-transmitted helminth infection. Retrieved October 25, 2017, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs366/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-06

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ