การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพทำผ้ากันเปื้อน: กรณีศึกษา ตำบลโนนสำราญ อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการทำงานของผู้ประกอบ
อาชีพทำผ้ากันเปื้อนในจังหวัดนครราชสีมาทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชีพทำผ้ากันเปื้อน
จำนวน 172 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ และแบบสำรวจสภาพ
การทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาสิ่งคุกคามจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพทำผ้ากันเปื้อนในแต่ละขั้นตอนการ
ทำงานพบว่า ขั้นตอนการเตรียมผ้าส่วนใหญ่จะใช้ข้อมือทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานทุกครั้ง ร้อยละ 93.33
ขั้นตอนการตัดผ้าส่วนใหญ่จะใช้ข้อมือทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานทุกครั้ง และใช้สายตาเพ่งมองชิ้นงานเป็น
เวลานานทุกครั้ง ร้อยละ 90.00 และ 90.00 ตามลำดับ ขั้นตอนการเย็บผ้าส่วนใหญ่จะนั่งทำงานท่าเดิมเป็น
เวลานานทุกครั้ง ร้อยละ 91.92 ขั้นตอนการตรวจสอบและบรรจุ ส่วนใหญ่จะนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน
ทุกครั้ง ร้อยละ 83.22 การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานพบว่า ผู้ประกอบอาชีพทำผ้ากัน
เปื้อนที่ทำในขั้นการเตรียมผ้ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการรับสัมผัสกับกลิ่นสารเคมี ร้อยละ
70.00 และการใช้สายตาเพ่งมองชิ้นงานเป็นเวลานาน และ 50.00 ขั้นตอนการตัดผ้ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด
อันตรายจาก การใช้สายตาเพ่งมองชิ้นงาน ร้อยละ 46.66 การหายใจเอาฝุ่นผ้าเข้าไป ร้อยละ 33.33 ขั้นตอน
การเย็บผ้ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการก้มๆ เงยๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ร้อยละ 34.78 การรับ
สัมผัสกับกลิ่นสารเคมี ร้อยละ 26.70 ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบและบรรจุ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตราย
จากการใช้ข้อมือทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน ร้อยละ 21.93 รองลงมาคือ จากการใช้สายตาในการเพ่งมอง
ชิ้นงาน ร้อยละ 19.35
ผลการศึกษานี้บอกถึงปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งเป็นการบ่งชี้ถึง
ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพทำผ้ากันเปื้อนในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการ
เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงใน
ด้านการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป