การพัฒนาโปรแกรมการดูแลเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้านรางไม้ต่อจานวนจุดชาที่เท้าของผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาด, สุนทรียสาธก, ธุรกิจคาร์แคร์, การเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้านรางไม้ต่อ
จานวนจุดชาที่เท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมทั้งสองแบบสุ่ม
อย่างง่ายจากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบางขุดกลุ่มละ 25 คนเครื่องมือเก็บ
รวบรวมข้อมูลได้แก่แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบประเมินอาการชาที่เท้าด้วยโมโนฟิลาเมนต์ เครื่องมือในการ
ทดลอง ได้แก่ คู่มือการดูแลเท้าและนวดเท้าด้วยการเหยียบรางไม้แผนการทดลองมีระยะเวลา 1เดือนโดย
กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้านรางไม้ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลเท้าตาม
มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินอาการชาที่เท้าก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม
ประเมินโดยโมโนฟิลาเมนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบที
ผลการศึกษาพบว่าจานวนจุดชาที่เท้าหลังของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีน้อยกว่ากลุ่ม
ควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(p < 0.05)ดังนั้นโปรแกรมการดูแลเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้านรางไม้มี
ประสิทธิภาพในการลดอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้ดีกว่าโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลเท้าเพียง
อย่างเดียว
ดังนั้นพยาบาลจึงควรมีการให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าควบคู่ไปกับการสอนให้ผู้ป่วยเบาหวานนวด
เท้าด้วยการเหยียบรางไม้เพื่อลดอาการชาที่เท้าเนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีและยังเป็นการส่งเสริมการใช้ภูมิ
ปัญญาพื้นบ้านเข้ากับการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย